วันพฤหัสบดีที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2551

เรื่องแห่งปัญญา

หากเราทุกคนดำรงชีวิตอยู่ ตั้งแต่เกิดจนตาย พบเจอแต่ความสุขสมปรารถนา เราคงไม่ต้องแสวงหาหนทางแห่งการดับทุกข์อีกต่อไป แต่ในความเป็นจริงกลับไม่ได้ เป็นเช่นนั้น ทุกคนต่างต้องเวียนว่ายตายเกิด มีชีวิตแบบสุขทุกข์ปนกันตามแต่บุญบาป ที่ทำไว้ในอดีต และหนทางแห่งการดับทุกข์คืออะไร? DMC มีคำตอบให้!!
DMC คือทีวีช่องคุณธรรม สื่อสีขาวที่น้อมนำธรรมะขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มาเผยแผ่ไปทั่วโลก ออกอากาศผ่านดาวเทียมตลอด 24 ชั่วโมง นำเสนอในรูปแบบที่ทันสมัย ได้ทั้งสาระและบันเทิง เข้าใจง่าย เด็กดูได้ ผู้ใหญ่ดูดี มีทั้งรายการวาไรตี้ ทอล์คโชว์ เทศนา-ธรรม และสารคดีที่ เกาะเกี่ยวอยู่ใน บุญกุศล รายการเพลงมิวสิกวิดีโอ ทำให้ใจใสใจสบาย รวมทั้งรายการดีๆ สำหรับเด็กๆ การ์ตูน ANIMATION เพื่อให้คุณ ได้เรียนรู้ธรรมะอย่างเข้าใจ และสามารถนำไปใช้เป็นแนว- ทางในการดำเนินชีวิตได้อย่าง มีความสุข ตามแนวทางของวัดพระธรรมกาย



เรื่องราวแห่งนอสตราดามุส



ในโคลงบทที่ ซ. 10 ค. 75 และ ซ. 2 ค. 29 นอสตราดามุสได้ทิ้งเงื่อนงำของ "ศรัทธาใหม่" โดยพรรณาไว้ดังนี้ " He will appear in Asia at home in Europe… One who is issued from great Hermes…" "ท่านจะปรากฏกายในเอเชีย ตั้งถิ่นฐานในยุโรป… ผู้ซึ่งเป็นผลมาจากองค์เทพผู้ยิ่งใหญ่…" (ซ. 10 ค. 75) ในโคลงบทที่ ซ. 10 ค. 75 และ ซ. 2 ค. 29 นอสตราดามุสได้ทิ้งเงื่อนงำของ "ศรัทธาใหม่" โดยพรรณาไว้ดังนี้ " He will appear in Asia at home in Europe… One who is issued from great Hermes…" "ท่านจะปรากฏกายในเอเชีย ตั้งถิ่นฐานในยุโรป… ผู้ซึ่งเป็นผลมาจากองค์เทพผู้ยิ่งใหญ่…" (ซ. 10 ค. 75) The man from the East will come out of his seat, Passing across the Apentines to see France, He will fly through the sky, the rains and snows, And strike everyone with the rod." "บุรุษจากตะวันออกจะลุกออกจากที่ประทับ เดินทางผ่าน(เทือกเขา) อาเพนไนส์เข้าสู่ฝรั่งเศส เขาจะบินมาบนท้องฟ้า ฝ่าสายฝน และหิมะ และตีกระทบด้วยไม้วิเศษ"โคลงทั้งสองบทข้างต้น ชี้ชัดว่าผู้นำแห่งศรัทธาใหม่ จะต้องมาจากเอเชียแน่นอน แต่อาจจะต้องเดินทางไกลเพื่อเผยแผ่สัจจธรรมจนมีถิ่นฐานในยุโรป และเป็นอัครสาวกขององค์เทพผู้ยิ่งใหญ่ คำว่า "Hermes"เดิมเป็นชื่อเทพเจ้าของชาวกรีกโบราณ จะเป็นไปได้หรือไม่ว่า ผู้นำของ "ศรัทธาใหม่" จะเป็น สาวกของพระพุทธเจ้า ในโคลงบทที่ ซ. 3 ค. 31 นอสตราดามุสบันทึกคำทำนายไว้ดังนี้ "The moon in the middle of the night… The young sage alone with his mind has seen it. His disciples invite him to become immortal… His body in the fire…" "ดวงจันทร์ลอยเด่นยามราตรี… หนุ่มคงแก่เรียนผู้สันโดษมองเห็นภาพในดวงจิต เหล่าสาวกจะอัญเชิญท่านไปสู่ความเป็นอมตะ ร่างของท่านอยู่ในเพลิง"นอสตราดามุสระบุถึงพระจันทร์ในคืนวันเพ็ญ มี"หนุ่มคงแก่เรียน" "เห็นภาพในดวงจิต" "ไปสู่ความเป็นอมตะ" และ "ร่างของท่านอยู่ในเพลิง" ผู้นำของศรัทธาใหม่น่าจะเป็นพระสงฆ์ "เห็นภาพในดวงจิต" น่าจะหมายถึง การเห็นภาพในสมาธิ เพราะมีโคลงบทอื่นๆ ที่ระบุว่า"เห็นสัจจธรรมด้วยดวงตาที่ปิด" หรือ "เปล่งวาจาด้วยปากที่ปิดแน่น" หรือ "การมองเห็นภาพลักษณ์ในความสงบของผืนทะเลสาบ" เป็นต้น "ศรัทธาใหม่" ของสังคมโลก ท่านได้พาดพิงไปถึง "พระจันทร์" หรือ "ดวงจันทร์" หรือแม้แต่ "แสงจันทร์" หลายครั้งหลายคราระบุแม้กระทั่งว่า ผู้นำของ "ศรัทธาใหม่"ของโลกนี้ จะมีชื่อเกี่ยวกับ "พระจันทร์" หรือ The Moon เห็นได้จากโคลงทำนาย ซ. 2 ค. 28 ข้างล่างนี้ หลวงพ่อวัดปากน้ำฯในวัยหนุ่ม"Second to the last of the prophet's name, Will take Diana's day(The moon's day) as his day of silent rest… He will travel far and wide in his drive to infuriate, delivering a great people from subjection." "พยางค์ที่สองของนามศาสดาพยากรณ์ จะใช้วันแห่งพระจันทร์เป็นวันสำหรับพักในความเงียบ เขาจะเดินทางกว้างและไกล ส่งแรงขับทำให้ผู้คนสะดุดใจ และนำพามหาชนให้หลุดพ้นจากความเป็นข้า(ของบ่วงกรรม?)" ซ. 2 ค. 28ประโยคที่บอกว่า "พักในความเงียบ" และ "วันแห่งพระจันทร์" ถ้ามาเชื่อมกับโคลงที่พรรณาว่า "หนุ่มคงแก่เรียนผู้สันโดษเห็นภาพในดวงจิต" จะเป็นไปได้มากทีเดียวว่า นอสตราดามุสมองเห็นภาพการนั่งวิปัสสนากรรมฐานในวันพระจันทร์เต็มดวง เพราะมีอีกโคลงที่พรรณาว่า "They see the truth with eye closed, Speak the fact with closed mount… Then at the time of need the awaited one will come late…" "พวกเขาเห็นสัจจธรรมด้วยดวงตาที่ปิด… เปล่งสัจจวาจาด้วยปากที่ปิดแน่น… บุคคลอันเป็นที่พึ่งยามต้องการจะมาถึงช้า … " (ซ. 5 ค. 96)โคลงทำนายบทนี้ยิ่งชี้ได้ชัดเจนยิ่งขึ้นว่า ศรัทธาใหม่ของโลกมนุษญ์จะสัมพันธ์กับการนั่งสมาธิวิปัสสนากรรมฐานอย่างแน่นอน การมองเห็นสัจจธรรมด้วยดวงตาที่ปิด และเปล่งสัจจวาจาด้วยวาจาที่ปิดแน่น จะเป็นสิ่งอื่นไปไม่ได้ นอกจากการนั่งสมาธิจนถึง ธรรมะ ภายใน มองเห็นดวงธรรมเห็นกายในกาย เห็น ธรรมกาย ยังมีโคลงทำนายที่น่าจะตีความได้ว่าเป็นการบ่งบอกถึงการนั่งวิปัสสนากรรมฐานกับความหมายที่เกี่ยวกับ"พระจันทร์" อีกโคลงคือ g for new clay, He and his followers will be soaked in Gold." "รัศมีสีเงินของแสงจันทร์กับบารมีแห่งองค์เทพแผ่กระจายกว้าง ภาพลักษณ์ที่ปรากฏในความสงบของผืนทะเลสาบ ประติมากรเสาะหาดินปั้นใหม่ ร่างของท่านกับผู้ติดตาม (สาวก) จะถูกฉาบ (หล่อ) ด้วยทองคำ" (ซ. 9 ค. 12)คำว่า Diana ในภาษาฝรั่งเศสหมายถึงพระจันทร์ การออกเสียงแบบฝรั่งเศสยังตรงกับคำว่า Dhyana หรือ ฌาณ อันหมายถึงการนั่งวิปัสสนา ประโยคที่ว่า "ภาพลักษณ์ที่ปรากฏในความสงบของผืนทะเลสาบ" หมายถึงการเข้าฌาณจากการนั่งวิปัสสนาอย่างชัดเจน ประโยคใน ซ. 9 ค. 12 ที่บอกว่า "ประติมากรเสาะหาดินปั้นใหม่" น่าจะตีความได้ว่า สาวกของผู้นำศรัทธาใหม่นี้ จะต้องพยายามค้นหาสูตรหรือมรรควิธีที่จะนำพาผู้ติดตามไปสู่แนวทางแห่งแสงสว่างแห่งสัจธรรมเป็นทางออกใหม่ หรือ ทางเลือกใหม่ หรือที่พึ่งใหม่ทางจิตวิญญาณที่หิวกระหายสัจธรรมของมนุษย์ สำหรับในประเทศไทย ที่วัดพระธรรมกาย จังหวัดปทุมธานี จะมีมหาชนหลั่งไหลมาจากทุกทิศของประเทศ รวมทั้งชาวต่างประเทศ มาปฏิบัติธรรมนั่งสมาธิวิปัสสนากรรมฐาน โดยการปฏิบัติของที่นี่ใช้"วิชชาธรรมกาย" ของพระมงคลเทพมุนี (สด จันทสโร) หรือที่รู้จักกันในนาม"หลวงพ่อวัดปากน้ำฯ" เป็นฐานของคำสอน ในขณะที่ศึกษาต้นกำเนิดของวัดพระธรรมกาย ก็ได้พบปรากฏการณ์ ที่น่าตื่นเต้นแห่งศรรตวรรษโดยบังเอิญ เพราะหลวงพ่อวัดปากน้ำมีฉายาทางพระว่า "สด จนฺทสโร" ชื่อในพยางค์ที่สองของท่านมีความหมายตรงกับคำว่า "พระจันทร์" พ้องกับคำทำนายของนอสตราดามุสอย่างชัดเจน จากจุดเริ่มต้นนี้เอง ความลี้ลับของโคลงทำนายของนอสตราดามุส จึงได้ถูกไขออกเป็นข้อๆ จากการศึกษาชีวประวัติของหลวงพ่อวัดปากน้ำ "สด จันทสโร" พบว่า ตลอดชีวิตท่าน เป็นพระที่เคร่งครัดต่อพระธรรมวินัยและธรรมปฏิบัติจนค้นพบมรรควิธีเจริญทางธรรมะบรรลุถึง "วิชชาธรรมกาย" ที่สูญหายไปจากโลกนี้แล้วกว่าสองพันปี เผยแผ่พระธรรมคำสอนจนกระทั่งมรณะภาพ ในปี พ.ศ. 2502 คงเหลือไว้แต่วิชชาธรรมกายไว้เป็นมรดกของโลก เมื่อเห็นวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ เดือน 10 ปี พ. ศ. 2460 เป็นวันที่หลวงปู่สด จนฺทสโรบรรลุถึง "วิชชาธรรมกาย" ทำให้โคลงทำนายของนอสตราดามุสทุกบทที่พรรณนาถึง"ศรัทธาใหม่" ของโลกเด่นชัดขึ้นมาฉับพลัน เข้าใจถึงเหตุผลทำไมนอสตราดามุสถึงได้พร่ำเอ่ยถึง"พระจันทร์" กับ "ดวงจันทร์" มากมายผิดปกติ พระมงคลเทพมุนี ได้เคยเทศนาส่วนที่เกี่ยวกับ "วิชชาธรรมกาย" ไว้ว่า "ธรรมจะต้องชนะอธรรมเสมอ เราไม่เดือดร้อนใจเพราะธรรมกายของพระพุทธศาสนาเป็นของแท้ ไม่ใช่ของเก๊ หรือของเทียม ธรรมกายจะปรากฏเป็นจริงแก่ผู้เข้าถึง" โดยการตั้งข้อสันนิฐานจากตัวท่านเป็นแกนนำไปสู่ข้อพิสูจน์อื่นๆ แยกเป็นประเด็นๆ เพื่อความเข้าใจที่ชัดเจนดังนี้ การค้นพบวิชชาธรรมกาย คือ การค้นพบศรัทธาใหม่ของโลกจากเอเชียหรือThe New Faith พระมงคลเทพมุนี คือสาวกแห่งศาสดาผู้ยิ่งใหญ่ในเอเชีย(Issued from the great Hermes) หนุ่มคงแก่เรียนผู้สันโดษเห็นภาพในดวงจิต (The young sage alone with his mind has seen it.) ด้วยวัยเพียง 32 ปีของภิกษุสด จนฺทสโร เป็นผู้ค้นพบวิชชาธรรมกาย กายที่ห่มด้วยจีวรสีเพลิง (His body in the fire) ร่างของท่านอยู่ในเพลิง มือที่ถือไม้ชี้ (He strikes everyone with the rod) ตีทุกคนด้วยแขนงไม้ วันที่เข้าถึง "ธรรมกาย" คือวันขึ้น 15 ค่ำ พระจันทร์เต็มดวง ตรงกับ"พระจันทร์ลอยเด่นยามราตรี" ท่านนั่งวิปัสสนากรรมฐาน "จนสามารถเห็นภาพในดวงจิต" "ภาพลักษณ์ปรากฏในความสงบของผืนทะเลสาบ" เห็นธรรมกายจาก "การเห็นสัจธรรมด้วยดวงตาที่ปิด" และเปล่งสัจวาจาด้วยปากที่ปิดแน่น" และ "ประติมากรเสาะหาดินปั้นใหม่" คือวิธีการพบสัจธรรมวิธีใหม่ พยางค์ที่สองของนามศาสดาพยากรณ์ที่มีความหมายตรงกับพระจันทร์ ตรงกับชื่อพยางค์ที่สองของหลวงปู่พระมงคลเทพมุนี คือ สด จนฺทสโร "เหล่าสาวกจะอัญเชิญท่านไปสู่ความเป็นอมตะ ร่างของท่านอยู่ในเพลิง" (ความเห็นของผมเอง เข้าใจว่า ร่างของหลวงพ่อวัดปากน้ำ เหล่าสานุศิษย์ ที่ยังไม่ได้เผา (ยังเก็บรักษาไว้ที่วัดปากน้ำ) จึงอาจตีความได้ว่า ร่างท่านยังเป็นอมตะอยู่ในจีวรสีเพลิง "ร่างของท่านกับผู้ติดตาม(สาวก)จะถูกฉาบหรือหล่อด้วยทองคำ"วัดพระธรรมกายได้มีการหล่อรูปเหมือนหลวงพ่อวัดปากน้ำเป็นทองคำตามด้วยหล่อรูปเหมือนอุบ


เด็กๆ นั่งสมาธิมื่อกล่าวถึงสมาธิ ต้องเข้าใจในเบื้องต้นว่า สมาธิมิใช่เรื่องของ ฤๅษี ชีไพรหรือมิใช่เป็นเรื่องที่ประพฤติปฏิบัติได ้เฉพาะผู้ที่เป็นนักบวชเท่านั้น แต่สมาธิเป็นเรื่องของการฝึกฝนอบรมจิตใจ และเป็นการพัฒนาจิตใจให้มีความมั่นคง ตั้งมั่น และทำให้มีคุณภาพทางจิตใจที่ดีขึ้น ซึ่งในทางพระพุทธศาสนานั้น สมาธิสามารถประพฤติปฏิบัติได้ ทั้งเพื่อประโยชน์ต่อความมีชีวิตที่อยู่เป็นสุขในเพศภาวะของผู้ที่ยังครอง เรือน และยังเป็นการปฏิบัติเพื่อนำไปสู่ความหลุดพ้นสำหรับผู้ที่เป็นนักบวชอีกด้วย แต่อย่างไรก็ตาม สมาธิ ถือเป็นเรื่องสากล กล่าวคือ มิใช่เฉพาะพุทธศาสนิกชนเท่านั้นที่จะสามารถปฏิบัติสมาธิได้ แม้ผู้ที่นับถือศาสนาอื่นก็สามารถปฏิบัติสมาธิได้เช่นเดียวกัน ทั้งนี้ การฝึกสมาธิจะเน้นให้ความสำคัญของการลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง เพราะนอกจากจะทำให้ผู้ปฏิบัติเห็นผลด้วยตนเองแล้ว หากมีข้อสงสัยในเชิงปฏิบัติ ก็สามารถที่จะสอบถามจากผู้รู้ผู้ชำนาญได้อย่างตรงเป้าหมายหรือตรงต่อ ประสบการณ์ที่ตนเองได้ปฏิบัติมา และถึงแม้จะมีการอธิบายรายละเอียดความรู้ของสมาธิในเชิงทฤษฎี แต่กระนั้นก็มิอาจจะที่จะละเลยสมาธิในเชิงปฏิบัติได้

ความหมายของสมาธิ
การอธิบายความหมายของสมาธิ สามารถอธิบายได้ทั้งในเชิงลักษณะผลของสมาธิที่เกิดขึ้นและอธิบายในลักษณะในเชิงการปฏิบัติ เช่น สมาธิ คือความสงบ สบาย และความรู้สึกเป็นสุขอย่างยิ่งที่มนุษย์สามารถสร้างขึ้นได้ด้วยตนเอง เป็นข้อควรปฏิบัติ เพื่อการดำรงชีวิตทุกวันอย่างเป็นสุข ไม่ประมาท เต็มไปด้วยสติสัมปชัญญะและปัญญา อันเป็นเรื่องไม่เหลือวิสัย ทุกคนสามารถปฏิบัติได้ง่ายๆ

ความหมายในเชิงลักษณะผลของสมาธิ
สมาธิ คือ อาการที่ใจตั้งมั่นอยู่ในอารมณ์เดียวอย่างต่อเนื่อง หรือ อาการที่ใจหยุดนิ่งแน่วแน่ ไม่ซัดส่ายไปมา เป็นอาการที่ใจสงบรวมเป็นหนึ่งแน่วแน่ มีแต่ความบริสุทธิ์ผ่องใส สว่างไสวผุดขึ้นในใจ จนกระทั่งสามารถเห็นความบริสุทธิ์นั้นด้วยใจตนเอง อันจะก่อให้เกิดทั้งกำลังใจ กำลังขวัญ กำลังปัญญา และความสุขแก่ผู้ปฏิบัติในเวลาเดียวกัน1

ความหมายในเชิงลักษณะการปฎิบัติสมาธิ
กล่าวอีกนัยหนึ่งในเชิงลักษณะการปฏิบัติ สมาธิ แปลว่า ความตั้งมั่นของจิต หรือภาวะที่จิตแน่วแน่ต่อสิ่งที่กำหนด หรือการที่จิตกำหนดแน่วแน่อยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ไม่ฟุ้งซ่าน

ความหมายในเชิงเพื่อให้เข้าถึงพระธรรมกาย
พระราชภาวนาวิสุทธิ์2 ได้ให้ความหมายของการทำสมาธิภาวนาในเชิงของการปฏิบัติว่า การทำสมาธิก็คือการทำใจของเราให้หยุดนิ่ง อยู่ภายในกลางกายของเรา กล่าวคือการดึงใจกลับเข้ามาสู่ภายใน อยู่กับเนื้อกับตัวของเรา ในอารมณ์ที่สบาย เป็นการดึงใจที่ซัดส่ายไปในอารมณ์ต่าง ๆ ในความคิดต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องครอบครัว ธุรกิจการงาน การศึกษาเล่าเรียน เรื่องสนุกสนานเฮฮา หรือเรื่องอะไรที่นอกเหนือจากนี้ก็ตาม ดึงกลับมาไว้อยู่กับตัวของเราให้มามีอารมณ์เดียว ใจเดียว ซึ่งท่านได้อ้างอิงถึงพระมงคลเทพมุนี(หลวงปู่วัดปากน้ำฯ) ซึ่งได้เคยอธิบายเรื่องการทำสมาธิว่า คือการทำให้ความเห็น ความจำ ความคิด ความรู้ รวมหยุดเป็นจุดเดียว หรือให้รวมหยุดเป็นจุดเดียวในอารมณ์ที่สบายที่กลางกายของเรา ซึ่งวิธีที่จะทำให้เกิดสมาธิเพื่อการเข้าถึงธรรมกายก็คือฝึกใจให้หยุดให้ นิ่งอยู่ภายใน

สัมมาสมาธิ





การทำทาน ได้แก่การสละทรัพย์สิ่งของสมบัติของตนที่มีอยู่ให้แก่ผู้อื่น โดยมุ่งหวังจะจุนเจือให้ผู้อื่นได้รับประโยชน์และความสุขด้วยความเมตตาจิตของตน ทานที่ได้ทำไปนั้น จะทำให้ผู้ทำทานได้บุญมากหรือน้อยเพียงใด ย่อมสุดแล้วแต่องค์ประกอบ ๓ ประการ ถ้าประกอบถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบทั้ง ๓ ประการต่อไปนี้แล้ว ทานนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญบารมีมาก กล่าวคือ
องค์ประกอบข้อที่ ๑. "วัตถุทานที่ให้ต้องบริสุทธิ์"
วัตถุทานที่ให้ ได้แก่สิ่งของทรัพย์สมบัติที่ตนได้สละให้เป็นทานนั้นเอง จะต้องเป็นของที่บริสุทธิ์ ที่จะเป็นของบริสุทธิ์ได้จะต้องเป็นสิ่งของที่ตนเองได้แสวงหา ได้มาด้วยความบริสุทธิ์ในการประกอบอาชีพ ไม่ใช่ของที่ได้มาเพราะการเบียดเบียนผู้อื่น เช่น ได้มาโดยยักยอก ทุจริต ลักทรัพย์ ฉ้อโกง ปล้นทรัพย์ ชิงทรัพย์ ฯลฯ
ตัวอย่าง ๑ ได้มาโดยการเบียดเบียนชีวิตและเลือดเนื้อสัตว์ เช่นฆ่าสัตว์ต่าง ๆ เป็นต้นว่า ปลา โค กระบือ สุกร โดยประสงค์จะเอาเลือดเนื้อของเขามาทำอาหารถวายพระเพื่อเอาบุญ ย่อมเป็นการสร้างบาปเอามาทำบุญ วัตถุทานคือเนื้อสัตว์นั้นเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ แม้ทำบุญให้ทานไป ก็ย่อมได้บุญน้อย จนเกือบไม่ได้อะไรเลย ทั้งอาจจะได้บาปเสียอีก หากว่าทำทานด้วยจิตที่เศร้าหมอง แต่การที่จะได้เนื้อสัตว์มาโดยการซื้อหามาจากผู้อื่นที่ฆ่าสัตว์นั้น โดยที่ตนมิได้มีส่วนร่วมรู้เห็นเป็นใจในการฆ่าสัตว์นั้นก็ดี เนื้อสัตว์นั้นตายเองก็ดี เนื้อสัตว์นั้นย่อมเป็นวัตถุทานที่บริสุทธิ์ เมื่อนำมาทำทานย่อมได้บุญมากหากถึงพร้อมด้วยองค์ประกอบข้ออื่น ๆ ด้วย
ตัวอย่าง ๒ ลักทรัพย์ ยักยอก ฉ้อโกง ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ รวมตลอดถึงการทุจริตฉ้อราษฎร์บังหลวง อันเป็นการได้ทรัพย์มาในลักษณะที่ไม่ชอบธรรม หรือโดยเจ้าของเดิมไม่เต็มใจให้ทรัพย์นั้น ย่อมเป็นของที่ไม่บริสุทธิ์ เป็นของร้อน แม้จะผลิดอกออกผลมาเพิ่มเติม ดอกผลนั้นก็ย่อมเป็นของไม่บริสุทธิ์ ด้วยนำเอาไปกินไปใช้ย่อมเกิดโทษ เรียกว่า "บริโภคโดยความเป็นหนี้" แม้จะนำเอาไปทำบุญ ให้ทาน สร้างโบสถ์วิหารก็ตาม ก็ไม่ทำให้ได้บุญแต่อย่างไร สมัยหนึ่งในรัชการที่ ๕ มีหัวหน้าสำนักนางโลมชื่อ "ยายแฟง" ได้เรียกเก็บเงินจากหญิงโสเภณีในสำนักของตนจากอัตราที่ได้มาครั้งหนึ่ง ๒๕ สตางค์ แกจะชักเอาไว้ ๕ สตางค์ สะสมเอาไว้เช่นนี้จนได้ประมาณ ๒,๐๐๐ บาท แล้วจึงจัดสร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งด้วยเงินนั้นทั้งหมด เมื่อสร้างเสร็จแล้วแกก็ปลื้มปีติ นำไปนมัสการถามหลวงพ่อโตวัดระฆังว่าการที่แกสร้างวัดทั้งวัดด้วยเงินของแกทั้งหมดจะได้บุญบารมีอย่างไร หลวงพ่อโตตอบว่า ได้แค่ ๑ สลึง แกก็เสียใจ เหตุที่ได้บุญน้อยก็เพราะทรัพย์อันเป็นวัตถุทานที่ตนนำมาสร้างวัดอันเป็นวิหารทานนั้น เป็นของที่แสวงหาได้มาโดยไม่บริสุทธิ์ เพราะว่าเบียดเบียนมาจากเจ้าของที่ไม่เต็มใจจะให้ ฉะนั้น บรรดาพ่อค้าแม่ขายทั้งหลายที่ซื้อของถูก ๆ แต่มาขายแพงจนเกินส่วนนั้น ย่อมเป็นสิ่งของที่ไม่บริสุทธิ์โดยนัยเดียวกัน
วัตถุทานที่บริสุทธิ์เพราะการแสวงหาได้มาโดยชอบธรรมดังกล่าว ไม่ได้จำกัดว่าจะต้องเป็นของดีหรือเลว ไม่จำกัดว่าเป็นของมากหรือน้อย น้อยค่าหรือมีค่ามาก จะเป็นของดี เลว ประณีต มากหรือน้อยไม่สำคัญ ความสำคัญขึ้นอยู่กับเจตนาในการให้ทานนั้น ตามกำลังทรัพย์และกำลังศรัทธาที่ตนมีอยู่
องค์ประกอบข้อที่ ๒. "เจตนาในการสร้างทานต้องบริสุทธิ์"
การให้ทานนั้น โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงก็เพื่อเป็นการขจัดความโลภ ความตระหนี่เหนียวแน่นความหวงแหนหลงใหลในทรัพย์สมบัติของตน อันเป็นกิเลสหยาบ คือ "โลภกิเลส" และเพื่อเป็นการสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขด้วย เมตตาธรรมของตน อันเป็นบันไดก้าวแรกในการเจริญเมตตา พรหมวิหารธรรมในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น ถ้าได้ให้ทานด้วยเจตนาดังกล่าวแล้ว เรียกว่าเจตนาในการทำทานบริสุทธิ์ แต่เจตนาที่ว่าบริสุทธิ์นั้น ถ้าจะบริสุทธิ์จริงจะต้องสมบูรณ์พร้อมกัน ๓ ระยะ คือ
(๑) ระยะก่อนที่จะให้ทาน ก่อนที่จะทานก็จะมีจิตที่โสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีที่จะให้ทาน เพื่อสงเคราะห์ผู้อื่นให้ได้รับความสุขเพราะทรัพย์สิ่งของของตน
(๒) ระยะที่กำลังลงมือให้ทาน ระยะที่กำลังมือให้ทานอยู่นั้นเอง ก็ทำด้วยจิตใจโสมนัสร่าเริงยินดีและเบิกบานในทานที่ตนกำลังให้ผู้อื่น
(๓) ระยะหลังจากที่ได้ให้ทานไปแล้ว ครั้นเมื่อได้ให้ทานไปแล้วเสร็จ หลังจากนั้นก็ดี นานมาก็ดี เมื่อหวนคิดถึงทานที่ตนได้กระทำไปแล้วครั้งใด ก็มีจิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบาน ยินดีในทานนั้น ๆ
เจตนาบริสุทธิ์ในการทำทานนั้น อยู่ที่จิตใจโสมนัสร่าเริงเบิกบานยินดีในทานที่ทำนั้นเป็นสำคัญ และเนื่องจากเมตตาจิต ที่มุ่งสงเคราะห์ผู้อื่นให้พ้นความทุกข์ และให้ได้รับความสุขเพราะทานของตน นับว่าเป็นเจตนาบริสุทธิ์ในเบื้องต้น แต่เจตนาที่บริสุทธิ์เพราะเหตุดังกล่าวมาแล้วนี้ จะทำให้ยิ่ง ๆ บริสุทธิ์มากขึ้นไปอีก หากผู้ใดให้ทานนั้นได้ทำทานด้วยการวิปัสสนาปัญญา กล่าวคือ ไม่ใช่ทำทานอย่างเดียว แต่ทำทานพร้อมกับมีวิปัสสนาปัญญา โดยใคร่ครวญถึงวัตถุทานที่ให้ทานนั้นว่า อันบรรดาทรัพย์สิ่งของทั้งที่ชาวโลกนิยมยกย่องหวงแหนเป็นสมบัติกันด้วยความโลภนั้น แท้ที่จริงแล้วก็เป็นเพียงวัตถุธาตุประจำโลก เป็นสมบัติกลาง ไม่ใช่ของผู้ใดโดยเฉพาะ เป็นของที่มีมาตั้งแต่ก่อนเราเกิดขึ้นมา และไม่ว่าเราจะเกิดขึ้นหรือไม่ก็ตาม วัตถุธาตุดังกล่าวก็มีอยู่เช่นนั้น และได้ผ่านการเป็นเจ้าของมาแล้วหลายชั่วคน ซึ่งท่านตั้งแต่ก่อนนั้น ได้ล้มหายตายจากไปแล้วทั้งสิ้น ไม่สามารถนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลยจนในที่สุดก็ได้ตกทอดมาถึงเรา ให้เราได้กินได้ใช้ไดยึดถือเพียงชั่วคราว แล้วก็ตกทอดสืบเนื่องไปเป็นของคนอื่น ๆ ต่อ ๆ ไปเช่นนี้ แม้เราเองก็ไม่สามารถจะนำวัตถุธาตุดังกล่าวนี้ติดตัวไปได้เลย จึงนับว่าเป็นสมบัติผลัดกันชมเท่านั้น ไม่จากไปในวันนี้ก็ต้องจากไปในวันหน้า อย่างน้อยเราก็ต้องจากต้องทิ้งเมื่อเราได้ตายลงนับว่าเป็นอนิจจัง คือไม่เที่ยงแท้แน่นอน จึงไม่อาจจะยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นของเราได้ถาวรได้ตลอดไป แม้ตัววัตถุธาตุดังกล่าวนี้เอง เมื่อมีเกิดขึ้นเป็นตัวตนแล้ว ก็ต้องอยูในสภาพนั้นให้ตลอดไปไม่ได้ จะต้องเก่าแก่ ผุพัง บุบสลายไป ไม่ใช่ตัวไม่ใช่ตนแต่อย่างไร แม้แต่เนื้อตัวร่างกายของเราเองก็มีสภาพเช่นเดียวกับวัตถุธาตุเหล่านั้น ซึ่งไม่อาจจะตั้งมั่นให้ยั่งยืนอยู่ได้ เมื่อมีเกิดขึ้นแล้วก็จะต้องเจริญวัยเป็นหนุ่มสาวแล้วก็แก่เฒ่าและตายไปในที่สุด เราจะต้องพลัดพรากจากของอันเป็นที่รัก ที่หวงแหน คือทรัพย์สมบัติทั้งปวง
เมื่อเจตนาในการให้ทานบริสุทธิ์ผุดผ่องดีพร้อมทั้งสามระยะดังกล่าวมาแล้ว ทั้งยังประกอบไปด้วยวิปัสสนาปัญญาดังกล่าวมาแล้วด้วย เจตนานั้นย่อมบริสุทธิ์อย่างยิ่ง ทานที่ได้ทำไปนั้นย่อมมีผลมาก ได้บุญมากหากวัตถุทานที่ได้ทำเป็นของบริสุทธิ์ตามองค์ประกอบข้อ ๑ ด้วย ก็ย่อมทำให้ได้บุญมากยิ่ง ๆ ขึ้นไปอีก วัตถุทานจะมากหรือน้อย เป็นของเลวหรือประณีตไม่สำคัญ เมื่อเราได้ให้ทานไปตามกำลังทรัพย์ที่เรามีอยู่ย่อมใช้ได้ แต่ก็ยังมีข้ออันควรระวังอยู่ก็คือ "การทำทานนั้นอย่าได้เบียดเบียนตนเอง" เช่นมีน้อย แต่ฝืนทำให้มาก ๆ จนเกินกำลังของตนที่จะให้ได้ เมื่อได้ทำไปแล้วตนเองและสามี ภริยา รวมทั้งบุตรต้องลำบาก ขาดแคลน เพราะว่าไม่มีจะกินจะใช้ เช่นนี้ย่อมทำให้จิตเศร้าหมอง เจตนานั้นย่อมไม่บริสุทธิ์ ทานที่ได้ทำไปแล้วนั้น แม้วัตถุทานจะมากหรือทำมาก ก็ย่อมได้บุญน้อย ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างที่ทำทานด้วยเจตนาอันไม่บริสุทธิ์ คือ
ตัวอย่าง ๑ ทำทานเพราะอยากได้ ทำเอาหน้า ทำอวดผู้อื่น เช่น สร้างโรงเรียน โรงพยาบาลใส่ชื่อของตน ไปยืนถ่ายภาพลงโฆษณาในหน้าหนังสือพิมพ์เพื่อให้ได้รับความนิยมยกย่องนับถือ โดยที่แท้จริงแล้วตนมิได้มีเจตนาที่จะมุ่งสงเคราะห์ผู้ใด เรียกว่า "ทำทานด้วยความโลภ" ไม่ทำเพื่อขจัดความโลภ ทำทานด้วยความอยากได้ คืออยากได้หน้า ๆได้เกียรติ ได้สรรเสริญ ได้ความนิยมนับถือ
ตัวอย่าง ๒ ทำทานด้วยความฝืนใจ ทำเพราะเสียไม่ได้ ทำด้วยความเสียหาย เช่นทีพวกพ้องมาเรี่ยไร ตนเองไม่มีศรัทธาที่จะทำ หรือมีศรัทธาอยู่บ้างแต่มีทรัพย์น้อย เมื่อมีพวกมาเรี่ยไรบอกบุญ ต้องจำใจทำทานไปเพราะความเกรงใจพวกพ้อง หรือเกรงว่าจะเสียหน้า ตนจึงได้สละทรัพย์ทำทานไปด้วยความจำใจ ย่อมเป็นการทำทานด้วยความตระหนี่หวงแหน ทำทานด้วยความเสียดาย ไม่ใช่ทำทานด้วยจิตเมตตาที่มุ่งจะสงเคราะห์ผู้อื่น ซึ่งยิ่งคิดก็ยิ่งเสียดาย ให้ไปแล้วก็เป็นทุกข์ใจ บางครั้งก็นึกโกรธผู้ที่มาบอกบุญ เช่นนี้จิตย่อมเศร้าหมอง ได้บุญน้อย หากเสียดายมาก ๆ จนเกิดโทสะจริตกล้าแล้ว นอกจากจะไม่ได้บุญแล้ว ที่จะได้ก็คือบาป
ตัวอย่าง ๓ ทำทานด้วยความโลภ คือทำทานเพราะว่าอยากได้นั่น อยากได้นี่ อยากเป็นนั่น อยากเป็นนี่ อันเป็นการทำทานเพราะว่าหวังสิ่งตอบแทน ไม่ใช่ทำทานเพราะมุ่งหมายที่จะขจัดความโลภ ความตระหนี่หวงแหนในทรัพย์ของตน เช่น ทำทานแล้วตั้งจิตอธิษฐานขอพรให้ชาติหน้าได้เป็นเทวดา นางฟ้า ขอให้รูปสวย ขอให้ทำมาค้าขึ้น ขอให้รำรวยเป็นเศรษฐี มหาเศรษฐี ทำทาน ๑๐๐ บาท แต่ขอให้ร่ำรวยนับล้าน ขอให้ถูกสลากกินแบ่งกินรวบ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนแต่เป็นสมบัติสวรรค์ หากชาติก่อนไม่เคยได้ทำบุญใส่บาตรฝากสวรรค์เอาไว้ อยู่ๆก็มาขอเบิกในชาตินี้ จะมีที่ไหนให้เบิก การทำทานด้วยความโลภเช่นนี้ย่อมไม่ได้บุญอะไรเลย สิ่งที่จะได้พอกพูนเพิ่มให้มากและหนาขึ้นก็คือ"ความโลภ"
ผลหรืออานิสงส์ของการทำทานที่ครบองค์ประกอบ ๓ ประการนั้น ย่อมมีผลให้ได้ซึ่งมนุษย์สมบัติ สวรรค์สมบัติเอง แม้ว่าจะไม่ได้ตั้งเจตนาเอาไว้ล่วงหน้าก็ตาม เพราะสิ่งเหล่านี้เป็นผลที่สืบเนื่องมาจากเหตุ เมื่อทำเหตุครบถ้วนย่อมมีผลเกิดขึ้นตามมาเอง เช่นเดียวกับปลูกต้นมะม่วง เมื่อรดน้ำพรวนดินและใส่ปุ๋ยไปตามธรรมดาเรื่อยไป แม้จะไม่อยากให้เจริญเติบโตและออกดอกออกผล ในที่สุดต้นไม้ก็จะต้องเจริญเติบโตและผลิตดอกออกผลตามมา สำหรับผลของทานนั้น หากน้อยหรือมีกำลังไม่มากนัก ย่อมน้อมนำให้เกิดในมนุษย์ชาติ หากมีกำลังแรงมากก็อาจจะน้อมนำให้ได้บังเกิดในเทวโลก ๖ ชั้น เมื่อได้เสวยสมบัติในเทวโลกจนสิ้นบุญแล้ว ด้วยเศษของบุญที่ยังคงหลงเหลืออยู่บ้าง ประกอบกับไม่มีอกุศลกรรมอื่นแทรกให้ผลก็อาจจะน้อมนำให้มาบังเกิดในมนุษย์อีกครั้งหนึ่ง และเมื่อได้มาบังเกิดเป็นมนุษย์แล้ว ก็ย่อมทำให้ได้เกิดในตระกูลที่ร่ำรวยมั่งคั่ง สมบูรณ์ไปด้วยทรัพย์ หรือไม่ก็เป็นผู้ที่มีลาภผลมาก ทำมาหากินขึ้นและร่ำรวยในภายหลัง ทรัพย์สมบัติไม่วิบัติหายนะไปเพราะวินาศภัย โจรภัย อัคคีภัย วาตภัย ฯลฯ แต่จะมั่งคั่งร่ำรวยในวัยใดก็ย่อมแล้วแต่ผลทานแต่ชาติก่อน ๆ จะส่งผล คือ
๑. ร่ำรวยตั้งแต่วัยต้น เพราะผลของทานที่ได้ตั้งเจตนาไว้บริสุทธิ์ดีตั้งแต่ก่อนจะทำทาน คือก่อนที่จะลงมือทำทานก็มีจิตเมตตาโสมนัสร่าเริง เบิกบานยินดีในทานที่ตนจะได้ทำเพื่อสงเคราะห์ผู้อื่น แล้วก็ได้ลงมือทำทานไปตามเจตนานั้น เมื่อเกิดเป็นมนุษย์ย่อมโชคดี โดยเกิดในตระกูลที่ร่ำรวย ชีวิตในวัยต้นอุดมสมบูรณ์พูนสุขไปด้วยทรัพย์ ไม่ยากจนแร้นแค้น ไม่ต้องขวนขวายหาเลี้ยงตนเองมาก แต่ถ้าเจตนานั้นไม่งามบริสุทธิ์พร้อมกันทั้ง ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นก็ย่อมส่งผลให้ไม่สม่ำเสมอกัน คือแม้ว่าจะร่ำรวยตั้งแต่วัยต้นโดยเกิดมาบนกองเงินกองทองก็ตาม หากในขณะที่กำลังลงมือทำทานเกิดจิตเศร้าหมองเพราะหวนคิดเสียดายหรือหวงแหนทรัพย์ที่จะให้ทานขึ้นมา หรือเกิดหมดศรัทธาขึ้นมาเฉยๆแต่ก็ยังฝืนใจทำทานไปเพราะเสียไม่ได้หรือเพราะตามพวกพ้องไปอย่างเสียไม่ได้ เช่นนี้ผลทานย่อมหมดกำลังให้ผลระยะที่ ๒ ซึ่งตรงกับวัยกลางคน ซึ่งจะมีผลทำให้ทรัพย์สมบัติหายนะไปด้วยประการต่างๆแม้จะได้รับมรดกมาก็ไม่อาจจะรักษาไว้ได้ หากเจตนาในการทำทานนั้นเศร้าหมองในระยะที่ ๓ คือทำทานไปแล้วหวนคิดขึ้นมาทำให้เสียดายทรัพย์ ความหายนะก็มีผลต่อเนื่องมาจนบั้นปลายชีวิตด้วย คือทรัพย์สินคงวิบัติเสียหายต่อเนื่องจากวัยกลางคนตลอดไปจนถึงตลอดอายุขัยชีวิตจริงของผู้ที่เกิดบนกองเงินกองทองก็มีให้เห็น เป็นตัวอย่างที่เมื่อได้รับทรัพย์มรดกแล้วก็วิบัติเสียหายไป หรือนักธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในวัยต้นแต่ก็ต้องล้มละลายในวัยกลางคน และบั้นปลายชีวิต แต่ถ้าได้ตั้งเจตนาในการทำทานไว้บริสุทธิ์ครบถ้วนพร้อม ๓ ระยะแล้ว ผลทานนั้นย่อมส่งผลสม่ำเสมอ คือร่ำรวยตั้งแต่เกิด วัยกลางคนและจนปัจฉิมวัย
๒. ร่ำรวยในวัยกลางคนการที่ร่ำรวยในวัยกลางคนนั้น สืบเนื่องมาจากผลของทานที่ได้ทำเพราะเจตนางามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๒ กล่าวคือไม่งามบริสุทธิ์ในระยะแรก เพราะก่อนที่จะลงมือทำทานก็มิได้มีจิตศรัทธามาก่อน ไม่คิดจะทำทานมาก่อนแต่ก็ได้ตัดสินใจทำทานไปเพราะเหตุบางอย่าง เช่นทำตามพวกพ้องอย่าเสียไม่ได้ แต่เมื่อได้ลงมือทำทานอยู่ก็เกิดโสมนัสรื่นเริงยินดีในทานที่กำลังกระทำอยู่นั้น ด้วยผลทานชนิดนี้ย่อมทำให้มาบังเกิดในตระกูลที่ยากจนคับแค้น ต้องต่อสู้สร้างตนเองมาในวัยต้น ครั้นเมื่อถึงวัยกลางคน กิจการหรือธุรกิจที่ทำก็ประสบความสำเร็จรุ่งเรื่อง และหากเจตนาในการทำทานได้งามบริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ ด้วย กิจการหรือธุรกิจนั้นย่อมส่งผลรุ่งเรื่องตลอดไปจนถึงบั้นปลายชีวิต หากเจตนาในการทำทานไม่บริสุทธิ์ในระยะที่ ๓ แม้ธุรกิจหรือกิจการงานจะประสบความสำเร็จรุ่งเรืองในวัยกลางคน แต่ก็ล้มเหลวหายนะในบั้นปลาย ทั้งนี้เพราะผลทานหมดกำลังส่งผลไม่ตลอดจนถึงบั้นปลาชีวิต
๓. ร่ำรวยปัจฉิมวัย คือร่ำรวยในบั้นปลายชีวิตนั้น สืบเนื่องมาจากผลทานที่ผู้กระทำมีเจตนางามไม่บริสุทธิ์ในระยะแรกและระยะที่ ๒ แต่งามบริสุทธิ์เฉพาะในระยะที่ ๓ กล่าวคือ ก่อนและในขณะลงมือทำทานอยู่นั้น ก็มิได้มีจิตโสมนัสยินดีในการทำทานนั้นแต่อย่างใด แต่ได้ทำลงไปโดยบังเอิญ เช่น ทำตามๆพวกพ้องไปอย่างเสียมิได้ แต่เมื่อได้ทำไปแล้วต่อมาหวนคิดถึงผลทานนั้น ก็เกิดจิตโสมนัสร่าเริง ยินดีเบิกบาน หากผลทานชนิดนี้จะน้อมนำให้มาบังเกิดเป็นมนุษย์ ก็จะเกิดในตระกูลที่ยากจนข้นแค้น ต้องต่อสู้ดิ้นรนศึกษาเล่าเรียนและขวนขวายสร้างตนเองมากตั้งแต่วัยต้นจนล่วงวัยกลางคนไปแล้ว กิจการงานหรือธุรกิจนั้นก็ยังไม่ประสบกับความสำเร็จ เช่นต้องล้มลุกคลุกคลานตลอดมา แต่ครั้นถึงบั้นปลายชีวิตก็ประสบช่องทางเหมาะ ทำให้กิจการนั้นเจริญรุ่งเรื่องทำมาค้าขึ้นและร่ำรวยอย่างไม่คาดหมาย ซึ่งชีวิตจริง ๆ ของคนประเภทนี้ก็มีให้เห็นเป็นตัวอย่างอยู่มาก
องค์ประกอบข้อที่ ๓. "เนื้อนาบุญต้องบริสุทธิ์"
คำว่า "เนื้อนาบุญ" ในที่นี่ได้แก่บุคคลผู้รับการทำทานของผู้ทำทานนั้นเอง นับว่าเป็นองค์ประกอบข้อที่สำคัญที่สุด แม้ว่าองค์ประกอบในการทำทานข้อที่ ๑ และข้อที่ ๒ จะงามบริสุทธิ์ครบถ้วนดีแล้ว กล่าวคือวัตถุที่ทำทานนั้นเป็นของที่แสวงหาได้มาด้วยความบริสุทธิ์ เจตนาในการทำทานก็งามบริสุทธิ์พร้อมทั้งสามระยะ แต่ตัวผู้ที่ได้รับการทำทานเป็นคนที่ไม่ดี ไม่ใช่ผู้ที่เป็นเนื้อนาบุญที่บริสุทธิ์ เป็นเนื้อนาบุญที่เลว ทานที่ทำไปนั้นก็ไม่ผลิดอกออกผล เปรียบเหมือนกับการหว่านเมล็ดข้าวเปลือกลงในพื้นนา ๑ กำมือ แม้เมล็ดข้าวนั้นจะเป็นพันธุ์ดีที่พร้อมจะงอกงาม (วัตถุทานบริสุทธิ์) และผู้หว่านคือกสิกรก็มีเจตนาจะหว่านเพื่อทำนาให้เกิดผลิตผลเป้นอาชีพ (เจตนาบริสุทธิ์) แต่หากที่นานั้นเป็นที่ที่ไม่สม่ำเสมอกัน เมล็ดข้าวที่หว่านลงไปก็งอกเงยไม่เสมอกัน โดยเมล็ดที่ไปตกในที่เป็นดินดี ปุ๋ยดี มีน้ำอุดมสมบูรณ์ดี ก็จะงอกเงยมีผลิตผลที่สมบูรณ์ ส่วนเมล็ดที่ไปตกบนพื้นนาที่แห้งแล้ง มีแต่กรวดกับทรายและขาดน้ำก็จะแห้งเหี่ยวหรือเฉาตายไป หรือไม่งอกเงยเสียเลย การทำทานนั้น ผลิตผลที่ผู้ทำทานจะได้รับก็คือ "บุญ" หากผู้ที่รับการให้ทานไม่เป็นเนื้อนาที่ดีสำหรับการทำบุญแล้ว ผลของทานคือบุญก็จะได้เกิดขึ้น แม้จะเกิดก็ไม่สมบูรณ์ เพราะแกร็นหรือแห้งเหี่ยวเฉาไปด้วยประการต่าง ๆ ฉะนั้นในการทำทาน ตัวบุคคลผู้รับของที่เราให้ทานจึงเป็นเงื่อนไขที่สำคัญที่สุด เราผู้ทำทานจะได้บุญมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับคนพวกนี้ คนที่รับการให้ทานนั้นหากเป็นผู้ที่มีศีลธรรมสูง ก็ย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่ดี ทานที่เราได้ทำไปแล้วก็เกิดผลบุญมาก หากผู้รับการให้ทานเป็นผู้ที่ไม่มีศีลไม่มีธรรม ผลของทานก็ไม่เกิดขึ้น คือได้บุญน้อย ฉะนั้นคติโบราณที่กล่าวว่า "ทำบุญอย่าถามพระ หรือ ตักบาตรอย่าเลือกพระ" เห็นจะใช้ไม่ได้ในสมัยนี้ เพราะว่าในสมัยนี้ไม่เหมือนกับท่านในสมัยก่อนๆที่บวชเพราะมุ่งจะหนีสงสาร โดยมุ่งจะทำมรรคผลและนิพพานให้แจ้ง ท่านจึงเป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ แต่ในสมัยนี้มีอยู่บางคนที่บวชด้วยคติ ๔ ประการ คือ "บวชเป็นประเพณี บวชหนีทหาร บวชผลาญข้าวสุก บวชสนุกตามเพื่อน" ธรรมวินัยใดๆท่านไม่สนใจ เพียงแต่มีผ้าเหลืองห่มกาย ท่านก็นึกว่าตนเป็นพระและเป็นเนื้อนาบุญเสียแล้ว ซึ่งป่วยการจะกล่าวไปถึงศีลปาฏิโมกข์ ๒๒๗ ข้อ แม้แต่เพียงศีล ๕ ก็ยังเอาแน่ไม่ได้ว่าท่านจะมีหรือไม่ การบวชที่แท้จริงแล้วก็เพื่อจะละความโลภ ความโกรธ ความหลง ปัญหาว่า
ทำอย่างไรจึงจะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ข้อนี้ก็ย่อมขึ้นอยู่กับวาสนาของเราผู้ทำทานเป็นสำคัญ หากเราได้เคยสร้างสมอบรมสร้างบารมีมาด้วยดีในอดีตชาติเป็นอันมากแล้ว บารมีนั้นก็จะเป็นพลังวาสนาน้อมนำให้ได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญที่ประเสริฐ ทำทานครั้งใดก็มักโชคดี ได้พบกับท่านที่ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบไปเสียทุกครั้ง หากบุญวาสนาของเราน้อยและไม่มั่นคง ก็จะได้พบกับท่านที่เป็นเนื้อนาบุญบ้าง ได้พบกับอลัชชีบ้าง คือดีและชั่วคละกันไป เช่นเดียวกับการซื้อสลากกินแบ่งสลากกินรวบ หากมีวาสนาบารมีเพราะได้เคยทำบุญให้ทานฝากกับสวรรค์ไว้ในชาติก่อน ๆ ก็ย่อมมีวาสนาให้ถูกรางวัลได้ หากไม่มีวาสนาเพราะไม่เคยทำบุญทำทานฝากสวรรค์เอาไว้เลย ก็ไม่มีสมบัติสวรรค์อะไรที่จะให้เบิกได้ อยู่ ๆ ก็จะมาขอเบิก เช่นนี้ก็ยากที่จะถูกรางวัลได้
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสเอาไว้ว่า แม้วัตถุทานจะบริสุทธิ์ดี เจตนาในการทำทานจะบริสุทธิ์ดี จะทำให้ทานนั้นมีผลมากหรือน้อย ย่อมขึ้นอยู่กับเนื้อนาบุญเป็นลำดับต่อไปนี้ คือ
๑. ทำทานแก่สัตว์เดรัจฉาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่มนุษย์ แม้จะเป็นมนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมเลยก็ตาม ทั้งนี้เพราะสัตว์ย่อมมีวาสนาบารมีน้อยกว่ามนุษย์และสัตว์ไม่ใช่เนื้อนาบุญที่ดี
๒. ให้ทานแก่มนุษย์ที่ไม่มีศีล ไม่มีธรรมวินัย แม้จะให้มากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๓. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๕ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าให้ทานดังกล่าวแก่ผู้มีศีล ๘ แม้จะให้เพียงครั้งเดียวก็ตาม
๔. ให้ทานแก่ผู้ที่มีศีล ๘ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานแก่ผู้มีศีล ๑๐ คือสามเณรในพุทธศาสนา แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๕. ถวายทานแก่สามเณรซึ่งมีศีล ๑๐ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าถวายทานดังกล่าวแก่พระสมมุติสงฆ์ ซึ่งมีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อ
พระด้วยกันก็มีคุณธรรมแตกต่างกัน จึงเป็นเนื้อนาบุญที่ต่างกัน บุคคลที่บวชเข้ามาในพระพุทธศาสนามีศีลปาฏิโมกข์สังวร ๒๒๗ ข้อนั้น องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้ายังไม่ตรัสเรียกว่าเป็น "พระ" แต่เป็นเพียงพระสมมุติเท่านั้น เรียกกันว่า "สมมุติสงฆ์" พระที่แท้จริงนั้น หมายถึงบุคคลที่บรรลุคุณธรรมตั้งแต่พระโสดาปัตติผลเป็นพระโสดาบันเป็นต้นไป ไม่ว่าท่านผู้นั้นจะได้บวชหรือเป็นฆราวาสก็ตาม นับว่าเป็น "พระ" ทั้งสิ้น และพระด้วยกันก็มีคุณธรรมต่างกันหลายระดับชั้น จากน้อยไปหามากดังนี้คือ "พระโสดาบัน พระสกิทาคามี พระอนาคามี พระอรหันต์ พระปัจเจกพุทธเจ้า สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธมเจ้า" และย่อมเป็นเนื้อนาบุญที่แตกต่างกัน ดังต่อไปนี้
๖. ถวายทานแก่พระสมมุติสงฆ์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานแก่ - พระโสดาบัน แม้จะได้ถวายทานดังกล่าวแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม (ความจริงยังมีการแยกเป็นพระโสดาปัตติมรรคและพระโสดาปัตติผล ฯลฯ เป็นลำดับไปจนถึงพระอรหัตผล แต่ในที่นี้จะกล่าวแต่เพียงย่นย่อพอให้ได้ความเท่านั้น)
๗. ถวายทานแก่พระโสดาบัน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระสกิทาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๘. ถวายทานแก่พระสกิทาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอนาคามี แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๙. ถวายทานแก่พระอนาคามี แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระอรหันต์ แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๐. ถวายทานแก่พระอรหันต์ แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๑. ถวายทานแก่พระปัจเจกพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายทานดังกล่าวแด่พระองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะถวายทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๒. ถวายทานแด่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะถวายสังฆทานดังกล่าวเพียงครั้งเดียวก็ตาม
๑๓. การถวายสังฆทานที่มีองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นประธาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่า "การถวายวิหารทาน" แม้จะได้กระทำแต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "วิหารทาน ได้แก่การสร้างหรือร่วมสร้างโบสถ์ วิหาร ศาลาการเปรียญ ศาลาโรงธรรม ศาลาท่าน้ำ ศาลาที่พักอาศัยคนเดินทางอันเป็นสาธารณะประโยชน์ที่ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน" อนึ่ง การสร้างสิ่งที่เป็นสาธารณประโยชน์หรือสิ่งที่ประชาชนใประโยชน์ร่วมกัน แม้จะไม่เกี่ยวเนื่องกับกิจในพระพุทธศาสนา เช่น "โรงพยาบาล โรงเรียน บ่อน้ำ แท็งก์น้ำ ศาลาป้ายรถยนต์โดยสารประจำทาง สุสาน เมรุเผาศพ" ก็ได้บุญมากในทำนองเดียวกัน
๑๔. การถวายวิหารทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง (๑๐๐ หลัง ) ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "ธรรมทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม "การให้ธรรมทานก็คือการเทศน์ การสอนธรรมะแก่ผู้อื่นที่ยังไม่รู้ให้รู้ได้ ที่รู้อยู่แล้วให้รู้ยิ่งๆขึ้น ให้ได้เข้าใจมรรค ผล นิพพาน ให้ผู้ที่เป็นมิจฉาทิฐิได้กลับใจเป็นสัมมาทิฐิ ชักจูงผู้คนให้เข้าปฏิบัติธรรม รวมตลอดถึงการพิมพ์การแจกหนังสือธรรมะ"
๑๕. การให้ธรรมทาน แม้จะมากถึง ๑๐๐ ครั้ง ก็ยังได้บุญน้อยกว่าการให้ "อภัยทาน" แม้จะให้แต่เพียงครั้งเดียวก็ตาม การให้อภัยทานก็คือ "การไม่ผูกโกรธ ไม่อาฆาตจองเวร ไม่พยาบาทคิดร้ายผู้อื่นแม้แต่ศัตรู" ซึ่งได้บุญกุศลแรงและสูงมากในฝ่ายทาน เพราะเป็นการบำเพ็ญเพียรเพื่อ "ละโทสะกิเลส" และเป็นการเจริญ "เมตตาพรหมวิหารธรรม" อันเป็นพรหมวิหารข้อหนึ่งในพรหมวิหาร ๔ ให้เกิดขึ้น อันพรหมวิหาร ๔ นั้น เป็นคุณธรรมที่เป็นองค์ธรรมของโยคีบุคคลที่บำเพ็ญฌานและวิปัสสนา ผู้ที่ทรงพรหมวิหาร ๔ ได้ย่อมเป็นผู้ทรงฌาน ซึ่งเมื่อเมตตาพรหมวิหารธรรมได้เกิดขึ้นแล้วเมื่อใด ก็ย่อมละเสียได้ซึ่ง "พยาบาท" ผู้นั้นจึงจะสามารถให้อภัยทานได้ การให้อภัยทานจึงเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อนและยากเย็น จึงจัดเป็นทานที่สูงกว่าการให้ทานทั้งปวง
อย่างไรก็ดี การให้อภัยทานแม้จะมากเพียงใด แม้จะชนะการให้ทานอื่น ๆ ทั้งมวล ผลบุญนั้นก็ยังอยู่ในระดับที่ต่ำกว่า "ฝ่ายศีล" เพราะเป็นการบำเพ็ญบารมีคนละขั้นต่างกัน

secret of life





คําถาม/คําตอบ ( ในเรื่องที่อยากรู้ )

ถาม:โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา คือ อะไร, ใคร คือ คุณครูไม่ใหญ่, ลูกพระธัมฯ

ตอบ:โรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา เป็นการเรียนการสอนธรรมะอีกรูปแบบหนึ่ง ซึ่งมิได้มุ่งเน้นทางด้านวิชาการ จึงทำให้ผู้คนทุกเพศทุกวัยสามารถเรียนรู้ร่วมกันได้ (มีอยู่ชั้นเดียว) เป็นการเรียนธรรมะแบบสบายๆ ไม่เคร่งเครียด มีการบรรยายด้วยคำพูด มีภาพสวยๆ มีเพลงสนุกๆ ให้ผู้เรียนเพลิดเพลิน พร้อมๆกับการได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องโลก ชีวิต และกฎแห่งกรรมอย่างลึกซึ้ง สำหรับสรรพนามที่ พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ ใช้คำเรียกแทนตัวท่านเองว่า ครูไม่ใหญ่ ในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยานั้น เนื่องจากท่านเริ่มศึกษาธรรมะกับ คุณยายอาจารย์มหารัตนอุบาสิกาจันทร์ ขนนกยูง ตั้งแต่สมัยที่ท่านยังเป็นนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ท่านจึงเคารพนับถือคุณยายอาจารย์ว่า เป็นครูบาอาจารย์ของท่าน เมื่อพระเดชพระคุณหลวงพ่อกล่าวถึงคุณธรรมของคุณยายอาจารย์ ในโรงเรียนอนุบาลฝันในฝันวิทยา ซึ่งมีรูปภาพของคุณยายอาจารย์ประดิษฐานอยู่ในสถานที่แห่งนี้ด้วย ท่านจึงยกย่องให้คุณยายอาจารย์เป็น ครูใหญ่ แล้วกล่าวถึงตัวท่านเอง ด้วยความอ่อนน้อมถ่อมตนว่าเป็น ครูไม่ใหญ่ ซึ่งเป็นคำที่เข้าใจง่ายๆ ระหว่างครูกับนักเรียน และเป็นแบบอย่างที่ดีของศิษย์ที่พึงแสดงความเคารพต่อครูบาอาจารย์ การที่คุณครูไม่ใหญ่ ท่านเรียกผู้ฟังธรรมว่า ลูกพระธัมฯ เพราะชื่อจริงของท่าน คือ หลวงพ่อธัมมชโย (สมณศักดิ์เป็นที่ พระราชภาวนาวิสุทธิ์) เมื่อมีการสนทนาธรรม พูดคุยแบบเป็นกันเองเหมือนพ่อคุยกับลูกในครอบครัว ท่านจึงเรียกว่า ลูกพระธัมฯ แต่บางครั้งท่านสนทนาธรรมกับสาธุชนที่เพิ่งเข้าวัดมาใหม่ๆ ท่านก็ใช้คำเป็นทางการว่า ญาติโยม ด้วยเหมือนกัน

ถาม:ทำไมคุณครูไม่ใหญ่ต้องสวมเสื้อแขนยาว

ตอบ:สำหรับเรื่องการใส่เสื้อแขนยาวของพระเดชพระคุณหลวงพ่อธัมมชโยนั้น เรื่องนี้ได้รับความกระจ่างจากคณะแพทย์ที่ทำการรักษาพระเดชพระคุณหลวงพ่อ แจ้งให้ทราบว่า...

สืบเนื่องจากปัญหาสุขภาพของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ ที่ท่านได้ทุ่มเทในงานพระพุทธศาสนาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ประกอบกับปัจจุบันท่านเป็นโรคเบาหวาน และเป็นโรคภูมิแพ้ รวมถึงมีปัญหาใหญ่ร่วมด้วย คือ เส้นเลือดดำใหญ่อุดตัน จึงทำให้พระเดชพระคุณหลวงพ่อไม่สามารถทนต่อสภาพการเปลี่ยนแปลงของอากาศ ไม่สามารถต้านทานต่อแรงลมได้ ไม่ว่าอากาศจะร้อนแค่ไหน เมื่อโดนลมกระทบจะทำให้ท่านมีอาการเป็นไข้ และคออักเสบ ซึ่งต้องใช้เวลาในการรักษาแต่ละครั้งเป็นเวลานาน

จากโรคที่เป็นอยู่นี้ ทางการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า พลังปราณไม่เพียงพอ ทำให้ภูมิต้านทานของโรคน้อย และการไหลเวียนของเลือดไม่ดี

ส่วนเรื่องพระวินัยนั้น การสวมเสื้อแขนยาวของพระเดชพระคุณหลวงพ่อ มีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาสุขภาพ ไม่เป็นอาบัติ เพราะมุ่งรักษาสุขภาพ ไม่ถือว่าผิดศีลหรือ ละเมิดพระพุทธบัญญัติแต่อย่างใด

แต่อย่างไรก็ตาม พระเดชพระคุณหลวงพ่อได้กล่าวไว้ว่า "ถ้าหากหลวงพ่อมีสุขภาพร่างกายแข็งแรงเป็นปกติ หายจากโรค หลวงพ่อก็อยาก ถอดเสื้อแขนยาวออก อยากเป็นอย่างพระสงฆ์ทั่วไปนั่นแหละ หลวงพ่อไม่อยากสวมเสื้อแขนยาวเลย แต่เพราะสุขภาพไม่เอื้ออำนวย จึงต้องทนอยู่ในสภาพอย่างนี้"

ถาม:เพลงทางโลกเกี่ยวอะไรกับรายการธรรมะ
ตอบ:คำถามนี้สร้างความหนักใจให้กับทีมงานผลิตสื่อพอสมควร เพราะเสียงตอบรับ ที่ชอบก็มีมาก ที่ไม่ชอบก็มีมาก สาเหตุที่ต้องมีเพลงคั่นเป็นระยะๆ เพราะคุณครูไม่ใหญ่ ต้องใช้เสียงเกือบ 3ชั่วโมง จึงต้องมีอะไรมาคั่นหรือมาประกอบ เพื่อช่วยให้ท่านมีจังหวะในการพักเสียงบ้าง

ส่วนว่าเหมาะสมหรือไม่ ขอให้คำนึงถึงสิ่งที่เกิดขึ้นว่า เป็นประโยชน์หรือเป็นโทษ เนื่องจากกลุ่มผู้ฟังมีทั้งเด็กและผู้ใหญ่ สำหรับเด็กเล็กๆมีความสนใจน้อย การเปิดเพลงบ่อยๆ จะช่วยดึงดูดความสนใจเป็นระยะๆ สำหรับผู้ฟังที่เป็นผู้ใหญ่ก็มีตั้งแต่วัยรุ่นขึ้นไป วัยรุ่นก็มีทั้งเข้าวัดสนใจฟังธรรม และยังไม่สนใจที่จะฟังธรรม สิ่งที่สังคมไทยกำลังเป็นห่วงอยู่ทุกวันนี้ ก็คือ วัยรุ่นประเภทที่ยังไม่สนใจฟังธรรม ยังคุ้นเคยชื่นชอบอยู่กับเพลงรักบ้าง เพลงสนุกสนานรื่นเริงทางโลกบ้าง ดังนั้นทีมงานผลิตจึงต้องเอาใจกลุ่มนี้มากสักหน่อย เมื่อดึงดูดให้เขามาสนใจฟังแล้ว เขาก็จะค่อยๆได้รับธรรมะซึมซับไปตามลำดับ

สำหรับผู้ที่รักในการปฏิบัติธรรม ไม่ชอบฟังเพลงทางโลก ก็อย่าเพิ่งหงุดหงิด ขอให้นำเหตุการณ์นี้มาเป็นบททดสอบภาคปฏิบัติว่า เราจะอดทน รักษาใจให้ใสได้ในภาวะที่เราไม่ชอบได้หรือไม่ ถ้าผ่านข้อสอบบทนี้ได้ ไม่ว่าเราจะอยู่ที่บ้าน อยู่ที่ทำงาน หรือที่ไหนๆ เราจะใช้ทุกๆเหตุการณ์ เป็นอุปกรณ์ในการสั่งสมบุญได้โดยไม่ต้องลงทุนเลยทีเดียว
ถาม:วัดพระธรรมกายคิดว่า ทำอย่างไร จึงจะทำให้สังคมไทยดีขึ้น
ตอบ:การทำให้สังคมไทยดีขึ้น ต้องมองว่าเป็นหน้าที่ของชาวไทยทุกคน อย่าเกี่ยงให้เป็นหน้าที่ของวัด ของโรงเรียน ของสื่อมวลชน ของรัฐบาล หรือของคนใดคนหนึ่ง แต่จริงๆแล้ว ทุกคน ทุกหน่วยงาน จะต้องช่วยกันทำหน้าที่ของตน ถ้าทุกคนเอาแต่หวัง อยากให้สังคมไทยดี แต่ไม่ได้ลงมือกระทำ สังคมก็คงไม่ดีขึ้นได้ และอย่าเพิ่งไปท้อแท้ใจแต่ต้นว่า เป็นปัญหาใหญ่ ลำพังตัวเราคงแก้ไขอะไรไม่ได้ เลยไม่ยอมทำอะไร ขอให้คิดแล้วลงมือทำอย่างต่อเนื่อง คนดีๆที่เขาเห็นประโยชน์เขาก็จะมาช่วยกัน ถ้าทุกคนคิดแล้วทำอย่างนี้ ช่วยกันคนละไม้คนละมือ สังคมไทยก็จะดีขึ้นอย่างแน่นอน

ในส่วนของการปลูกฝังศีลธรรมนี้ แน่นอนว่า พระภิกษุสงฆ์และวัดเป็นผู้มีบทบาทสำคัญ ถ้าวัดทั้ง 30,000กว่าวัด พระภิกษุสงฆ์ทั้ง 300,000กว่ารูป ร่วมแรงร่วมใจช่วยกันเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ก็คงเป็นส่วนสำคัญที่จะทำให้ศีลธรรมของสังคมดีขึ้น ทำให้ผู้คนมีศีลธรรม มีพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งที่ยึดเหนี่ยวประจำจิตใจ ไม่สร้างความเดือดร้อนให้แก่สังคม

วัดพระธรรมกาย ในฐานะวัดๆหนึ่งในประเทศไทย ก็ได้พยายามทำหน้าที่ของตนในในส่วนนี้อย่างเต็มกำลัง มาตั้งแต่เริ่มสร้างวัด ให้การศึกษาอบรมพระภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกาของวัด ทั้งในด้านปริยัติและปฏิบัติ และให้ช่วยกันอบรมสั่งสอนศีลธรรมแก่ประชาชน ชักชวนประชาชนเข้าวัด ให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา จัดกิจกรรมการปลูกฝังคุณธรรม ทั้งในและนอกสถานที่มากมายหลายอย่าง ดังที่ได้เห็นในภาพกิจกรรมต่างๆของวัดพระธรรมกาย

ผลของการทุ่มเท อุทิศชีวิตทำงานอย่างจริงจังมาตลอด 35ปี วัดพระธรรมกายก็ทำงานได้ผลในระดับหนึ่ง มีประชาชนสนใจเข้าร่วมกิจกรรมอบรมคุณธรรมจำนวนมาก แต่ทางวัดตระหนักดีว่า การปลูกฝังคุณธรรมแก่ประชาชนทั้งแผ่นดิน เป็นงานใหญ่ ต้องให้วัดทุกวัดในประเทศไทยร่วมแรงร่วมใจช่วยกัน
ดังนั้น วัดพระธรรมกายจึงได้เชิญชวน ให้มาร่วมกันสร้างกระแสของการทำความดีให้เกิดขึ้น โดยในวันสำคัญทางศาสนา ได้นิมนต์พระภิกษุสงฆ์ครั้งละเป็นจำนวนพันจากทั่วประเทศ มาอยู่ธุดงค์ปฏิบัติธรรม รับฟังโอวาทจากพระเถระผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือ โดยได้มาทำเป็นเวลา 19ปีเต็ม เพราะมุ่งหวังตั้งใจว่า พระทุกรูปจะได้เป็นเนื้อนาบุญให้กับสาธุชนที่มาร่วมงาน

เมื่อพระทุกรูปได้เห็นกิจกรรมทั้งหมดแล้ว จะได้เกิดความเชื่อมั่นว่า ธรรมะของพระพุทธเจ้าเป็นของดีจริง ถ้าตั้งใจศึกษาและเผยแผ่อย่างจริงจังแล้ว ประชาชนจะให้ความสนใจ โดยไม่จำเป็นต้องอาศัย มหรสพ ดนตรี คอนเสิร์ต ภาพยนตร์ มารวมคน เพราะการเทศนาธรรมและสอนทำสมาธิ ก็สามารถรวมชาวพุทธได้

พระภิกษุรูปใดต้องการทราบ วิธีการทำงานของวัดพระธรรมกาย ก็จะได้รับการถ่ายทอดให้อย่างเต็มที่ เพราะหวังว่า ท่านจะได้กลับไปพัฒนาวัดและท้องถิ่นของตน เมื่อทุกวัดในประเทศไทย ร่วมแรงร่วมใจกันทำงานอย่างนี้ วัดก็จะเป็นที่พึ่งของชาวพุทธได้อย่างแท้จริง พระพุทธศาสนาก็จะเจริญขึ้น สังคมไทยเราก็จะดีขึ้น

ถาม:เคล็ดลับความสำเร็จของวัดพระธรรมกายคืออะไร ทำไมจึงมีประชาชนเลื่อมใส ศรัทธาเข้าวัด ปฏิบัติธรรมกันมาก

ตอบ:เงื่อนไขที่ทำให้วัดพระธรรมกายทำงานด้านการอบรมศีลธรรม ได้ผลมาบ้างในระดับหนึ่งนั้น อาจสรุปได้ 4ประเด็นดังนี้

1.มีอุดมการณ์ตั้งแต่เริ่มสร้างวัด พระเดชพระคุณพระราชภาวนาวิสุทธิ์ (หลวงพ่อธัมมชโย) ท่านเจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย และหมู่คณะรุ่นบุกเบิกได้ตั้งปณิธานร่วมกันไว้ว่า จะสร้างพระให้เป็นพระ สร้างวัดให้เป็นวัด เพื่อใช้เป็นสถานที่สำหรับ สร้างคนให้เป็นคนดีของสังคม พระทุกรูปบวช เพราะมีความตระหนักซาบซึ้งในคุณของพระรัตนตรัย และเมื่อบวชแล้วก็ตั้งใจบวชอุทิศชีวิตให้พระพุทธศาสนา ไม่คิดลาสิกขา หมู่คณะที่ตามมาในรุ่นหลังๆก็มีอุดมการณ์ในทำนองเดียวกัน

ปัจจุบันวัดพระธรรมกาย มีบุคลากร ประจำ คือ พระภิกษุ สามเณร จำนวนพันเศษ อุบาสก อุบาสิกา ศิษย์วัด ประมาณ 700คน คนเกือบ 2,000คน ที่มีอุดมการณ์เหมือนกัน ที่จะสร้างคนดีให้กับสังคม ทุ่มเททำงาน สัปดาห์ละ 7วัน โดยไม่มีวันหยุด เมื่อรวมกับกำลังของญาติโยม สาธุชน ที่มีศรัทธา เห็นประโยชน์ เห็นความตั้งใจจริงของวัดพระธรรมกายแล้ว ก็สามารถทำงานได้มาก
2.ทำงานจริง พัฒนางานตลอด เมื่อเริ่มสร้างวัด เมื่อ 35ปีก่อนโน้น หมู่คณะรุ่นบุกเบิกเป็นพระหนุ่ม คนหนุ่ม ส่วนใหญ่มีอายุเพียง 20ปีเศษ ยังมีประสบการณ์น้อย แต่มีความตั้งใจมุ่งมั่นจริงจัง ที่จะปฏิบัติฝึกฝนตนเอง และเผยแผ่ธรรมะ ก็ทำงานมาแบบลองผิดลองถูก ทำไปแล้วผลไม่เป็นอย่างที่คิดก็มาก แต่ก็ไม่ท้อถอย พยายามสรุปผล และปรับปรุงพัฒนางานมาโดยตลอด เรียนรู้จากการทำงานจริง ประสบการณ์เป็นตัวสอนเราให้สามารถพัฒนางานให้ดีขึ้น สมบูรณ์ขึ้น โดยมีคติในการทำงานของวัดอยู่ว่า ไม่ได้ไม่มี ไม่ดีไม่ได้ ต้องได้และดี ให้ดีกว่าดีที่สุด โดยเราถือว่าการทำงานของพระพุทธศาสนาให้ดี เป็นแบบอย่างได้นั้น เป็นการแสดงถึงความเคารพในพระรัตนตรัยอย่างหนึ่ง
3.เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นของทุกคน ตั้งแต่เริ่มสร้างวัด เนื่องจากประสบการณ์ของเรามีน้อย จึงพยายามไปศึกษาจากวัดต่างๆ ที่ตั้งมานานแล้วทั้ง 70กว่าจังหวัดในยุคนั้น หมู่คณะรุ่นบุกเบิกเดินทางไปดูมาเกือบทั่วทุกจังหวัด ยกเว้นแม่ฮ่องสอนจังหวัดเดียว เพราะการคมนาคมไม่สะดวก ที่ไหนได้ยินเสียงเล่าลือว่าดีอะไร ก็ไปดูไปศึกษามาหมด พยายามศึกษารวบรวมข้อดีของวัดต่างๆ มาเป็นแบบอย่างในการสร้างวัด ติดปัญหาอะไรก็มักไปกราบขอคำแนะนำจากพระเถระผู้ใหญ่หลายๆรูป ซึ่งท่านเห็นความตั้งใจจริง ในการทำงาน ท่านก็เมตตาแนะนำสั่งสอนมาโดยตลอด

ปัจจุบัน แม้งานของวัดจะพัฒนามาได้ในระดับหนึ่ง แต่ทางวัดก็ยังคงเปิดกว้าง รับฟังความคิดเห็นในการทำงานจากทุกฝ่ายเสมอมา แม้ญาติโยมสาธุชนที่มาวัด ใครมีความสามารถด้านใด มีความเชี่ยวชาญ มีความเห็นอย่างไร ทางวัดก็รับฟังและขอให้มาช่วยกันทำงาน พัฒนางานไป ความสำเร็จของวัดพระธรรมกายในปัจจุบัน จึงมาจากการร่วมแรงร่วมใจ รวมสติปัญญาความสามารถของบุคคลต่างๆจำนวนมาก

4.ทำงานเป็นทีมไม่ยึดติดตัวบุคคล จะสังเกตเห็นว่า วัดต่างๆที่มีชื่อเสียงมากขึ้นมา ส่วนใหญ่มักเป็นเพราะมีเจ้าอาวาสเป็นพระภิกษุที่ได้รับความเลื่อมใสจากประชาชน ประชาชนจะรู้จักพระมากกว่ารู้จักวัด พูดง่ายๆว่า หลวงพ่อดัง มากกว่าวัดดัง เมื่อพระภิกษุที่ได้รับความเลื่อมใสศรัทธานั้นมรณภาพไป วัดนั้นก็ซบเซาไป บางทีเกือบกลายเป็นวัดร้างไปเลยก็มี

แต่วัดพระธรรมกาย เน้นการทำงานเป็นทีม มีคณะกรรมการชุดต่างๆ ขึ้นมาช่วยกลั่นกรองงาน ก่อนที่จะถึงการตัดสินใจของเจ้าอาวาสในขั้นสุดท้าย มีการกระจายการทำงานเป็นระบบ ทำให้สามารถทำงานได้กว้างขวาง มีประสิทธิภาพ ทุกคนสามารถใช้ศักยภาพของตนเอง ในการทำงานได้อย่างเต็มที่ เราพยายามสร้างระบบงาน ไม่ยึดติดตัวบุคคล เพื่อว่าแม้เจ้าอาวาสและหมู่คณะรุ่นบุกเบิกละโลกไปแล้ว ระบบงานต่างๆก็ยังอยู่ และวัดก็ยังคงทำหน้าที่เผยแผ่คุณธรรมแก่ประชาชนได้ตลอดไป

ด้วยเหตุนี้เอง จะเห็นได้ว่า สำหรับวัดพระธรรมกายแล้ว ประชาชนจะรู้จักชื่อวัดมากกว่า ชื่อเจ้าอาวาส คือ วัดดัง มากกว่าหลวงพ่อดัง

ถาม:ทำไมจึงมีเสียงติติงการทำงานของวัดพระธรรมกาย

ตอบ:ที่ใดก็ตามที่มีการทำอะไรใหม่ๆเกิดขึ้น ก็ย่อมจะมีทั้งคนที่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วย มีเสียงติติงเสมอ เพราะผู้ที่ยึดติดอยู่ในรูปแบบเดิมๆ ย่อมมีอยู่ โดยเฉพาะสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณชน เป็นการทำเพื่อคนหมู่มาก ย่อมเป็นที่สนใจ เสียงติติงก็อาจมีมากเป็นธรรมดา เป็นหน้าที่ของผู้ที่ตั้งใจทำงานเพื่อส่วนรวม จะต้องรับฟังแล้วนำมาพิจารณาด้วยใจที่เปิดกว้างว่า ที่ตนทำอยู่อย่างนั้นบกพร่องจริงหรือไม่ หากพบว่าจริงก็ให้ปรับปรุงแก้ไขเสีย หากพบว่าเสียงติติงนั้นไม่เป็นความจริง เกิดจากความไม่เข้าใจ ก็ต้องพยายามให้มีข้อมูลความจริงให้เขาได้ทราบ

อีกทั้งบางครั้งก็อาจเป็นได้ว่า เสียงติติงนั้นอาจเกิดจาก ผู้ที่มีใจไม่เป็นกุศล อาจด้วยความอิจฉาริษยา ความหมั่นไส้ หวาดระแวง หรือเสียผลประโยชน์ ก็ตามแต่ ก็จะต้องอดทน เมื่อเวลาผ่านไป สิ่งที่ตนทำอยู่ปรากฏผลชัดขึ้น ความจริงก็จะปรากฏออกมาเอง

อย่าว่าแต่เราสามัญชนเลย แม้พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งพระองค์มีพระดำริ จะสร้างสวนลุมพินีเพื่อเป็นสถานที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชน ก็ยังมีเสียงติติงว่า ทำไมใหญ่โต ไม่มีความจำเป็น แต่ปัจจุบัน ทุกคนต่างก็ตระหนักซาบซึ้ง ในพระวิจารณญาณที่กว้างไกลของพระองค์กันถ้วนหน้า

หรืออย่างพระเดชพระคุณหลวงพ่อพุทธทาส ท่านเป็นผู้ริเริ่มการแสดงปาฐกถาธรรมโดยไม่ถือใบลาน ช่วงแรกๆก็ถูกต่อต้านมาก แต่ต่อมาทุกคนก็ยอมรับ

แม้ในทางโลก เมื่อคุณสมหมาย ฮุนตระกูล อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ประกาศลดค่าเงินบาท เมื่อปีพุทธศักราช 2527 ช่วงแรกก็มีผู้โจมตี ด่าว่ากันอย่างสาดเสียเทเสียมากมาย แต่ต่อมาทุกคนก็ประจักษ์ชัดในคุณูปการที่ท่านสร้างไว้แก่แผ่นดินไทย หนังสือที่ระลึกในงานพระราชทานเพลิงศพของท่าน จึงมีจดหมายขอโทษจากบุคคลต่างๆ ที่เคยเข้าใจผิดมากมาย

ผู้ที่คิดจะทำประโยชน์เพื่อชนหมู่มาก จึงต้องเตรียมใจไว้แต่ต้น และต้องอดทน ขอให้พวกเราชาวพุทธ คลายความยึดมั่นถือมั่น ความยึดติดในรูปแบบเก่าๆ เราต้องใช้ความเคารพรักในการรักษาธรรมเนียม แต่ก็ให้ถือแก่นเป็นหลักมากกว่าติดที่เปลือกกระพี้ คือ หาทางปรับปรุงรูปแบบ วิธีการเผยแผ่ธรรมะ ปลูกฝังศีลธรรมในใจคนให้ได้ผล ให้คนในยุคปัจจุบันรับได้เข้าใจได้ โดยรักษาแก่นคำสอนในพระพุทธศาสนาไว้อย่างมั่นคง

ถาม:ทำไมต้องก่อสร้างศาสนสถานใหญ่ๆด้วย พระพุทธศาสนาสอนให้สมถะ ทำอะไรเล็กๆไม่ใช่หรือ
ตอบ:เราชาวพุทธเป็นลูกพระพุทธเจ้า การทำงานก็ควรดูแบบอย่างจากพระองค์ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงทำอย่างไร จึงประดิษฐานพระพุทธศาสนาได้อย่างมั่นคง เป็นปึกแผ่นสืบทอดมาถึงเราได้ถึง 2,500กว่าปีแล้ว

ในแง่ศาสนสถาน เราพบว่า วัดที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทับอยู่นานที่สุดถึง 20กว่าพรรษา คือ พระเชตวันมหาวิหาร ซึ่งอนาถบิณฑิกเศรษฐีสร้างถวาย สิ้นทรัพย์ถึง 54โกฏิกหาปณะ คือ เท่ากับ 540ล้านกหาปณะ ซึ่ง 1กหาปณะนั้น เทียบค่าของเงินปัจจุบันแล้ว มีค่ามากกว่าดอลลาร์หลายเท่า ดังนั้นเมื่อเทียบค่าเงินปัจจุบัน การสร้างวัดพระเชตวันมหาวิหาร จึงสิ้นค่าใช้จ่ายหลายหมื่นล้านบาท อาจถึงแสนล้านบาท และพระเชตวันมหาวิหารนี่เอง ที่เป็นฐานที่มั่นสำคัญในการวางรากฐานการเผยแผ่พระพุทธศาสนา ให้ขยายออกไปอย่างกว้างขวางในครั้งพุทธกาล และสืบทอดมาถึงเราในปัจจุบัน

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงสอนให้พระภิกษุเป็นผู้อยู่ง่ายเลี้ยงง่าย ตั้งใจปฏิบัติธรรม ฝึกฝนอบรมตนเอง แต่ในแง่ศาสนสถาน การสร้างวัดซึ่งเป็นสถานที่เผยแผ่ธรรมแก่ประชาชนแล้ว พระองค์กลับทรงชื่นชมอนุโมทนา สนับสนุนการสร้างวัดใหญ่ๆจำนวนมาก นอกจาก เชตวันมหาวิหารแล้ว ก็ยังมีอีกมากมาย เช่น วัดบุพพาราม ซึ่งนางวิสาขามหาอุบาสิกาสร้างถวาย เป็นโลหะปราสาท สิ้นทรัพย์นับเป็นค่าเงินเป็นหมื่นๆล้านบาทเช่นกัน พระองค์ถึงขนาดทรงให้พระมหาโมคคัลลนะ อัครสาวกเบื้องซ้าย ไปเป็นผู้ดูแลการก่อสร้างตามคำของนางวิสาขา เพราะวัดใหญ่ๆ เมื่อสร้างขึ้นโดยมีการใช้ประโยชน์จริง ก็จะสามารถรองรับ ประชาชนได้เป็นจำนวนมาก นับว่าเป็นประโยชน์ต่อคนทั้งแผ่นดิน ผู้ที่ได้ประโยชน์ที่แท้จริง ก็คือประชาชนนั่นเอง

วัดพระธรรมกาย...เราเริ่มสร้างขึ้นจากวัดเล็กๆ มีศาลาปฏิบัติธรรมจุคนได้เพียง 450คน แต่เพราะการตั้งใจเผยแผ่พระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง ประชาชนที่มาวัดจึงเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นหลักหมื่นหลักแสน จึงจำเป็นต้องสร้างศาลาอาคารมารองรับ

มหาธรรมกายเจดีย์...สร้างขึ้นเพื่อเป็นศูนย์รวมใจปฏิบัติธรรมของพระภิกษุสงฆ์จำนวน 1หมื่นรูป สาธุชนจำนวน 1ล้านคน แม้ขณะกำลังก่อสร้างอยู่ ก็มีคนมาปฏิบัติธรรมกันในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ครั้งละกว่าแสนคนแล้ว

สิ่งก่อสร้างในวัดพระธรรมกาย จึงสร้างขึ้นเพื่อการใช้งานจริง งบประมาณในการก่อสร้างก็มาจากประชาชนทำบุญ ผู้ใช้ก็คือประชาชน ประโยชน์ก็เกิดขึ้นกับชาวพุทธทั้งแผ่นดิน

ถาม:แทนที่จะสร้างวัด เอาเงินไปสร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล ไม่ดีกว่าหรือ
ตอบ:การสร้างโรงเรียน สร้างโรงพยาบาล ก็ควรทำ สร้างโรงเรียนทำให้คนฉลาดมีความรู้ สร้างโรงพยาบาลทำให้คนมีสุขภาพแข็งแรง หายจากโรคภัยไข้เจ็บ แต่ทว่า...ผู้มีสุขภาพแข็งแรง ฉลาดมีความรู้มาก หากไม่มีศีลธรรมแล้ว ก็จะสร้างความเดือดร้อนแก่สังคมได้มาก เราจึงจำเป็นต้องสร้างวัด เพื่อเป็นที่ปลูกฝังคุณธรรมแก่ประชาชนด้วย
ขอให้ดูที่ความจริงอย่างหนึ่งที่มักถูกมองข้ามไป คือ คนในสังคมเมื่อทำงาน เกิดความเครียดขึ้นแล้ว ก็มักหาทางคลายเครียด พักผ่อนหย่อนใจกันด้วยวิธีการต่างๆ บ้างก็ดื่มเหล้า บ้างก็สูบบุหรี่ บ้างก็ไปดูภาพยนตร์ บ้างก็ไปเที่ยว บ้างก็ไปวัด
ผู้ที่ชอบดื่มเหล้า ก็จะใช้ทรัพย์เพื่อการซื้อเหล้า ทำให้เกิดโรงงานผลิตเหล้า เกิดบาร์ คลับ ผับ ขึ้นมารองรับ ผู้ที่ชอบสูบบุหรี่ ก็จะใช้จ่ายทรัพย์เพื่อบุหรี่ ทำให้เกิดโรงงานบุหรี่ และเครือข่ายขึ้นมารองรับ ผู้ที่ชอบดูภาพยนตร์ ก็จะใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการนี้ ทำให้เกิดการผลิตภาพยนตร์ โรงงานภาพยนตร์มารองรับ ผู้ที่ชอบเที่ยว ก็จะใช้จ่ายทรัพย์เพื่อการท่องเที่ยว ทำให้เกิดบริษัท ทัวร์ ดิสนีย์แลนด์ สถานท่องเที่ยวต่างๆขึ้นมารองรับ ผู้ที่ชอบเข้าวัด เขาก็จะนำงบหย่อนใจตรงนี้ ไปทำบุญแทนและก็เกิดเป็นวิหาร เจดีย์ โบสถ์ ศาลา มารองรับ
เราไม่สามารถบอกให้คนที่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่ ให้เลิกดื่ม เลิกสูบ แล้วเอาเงินไปสร้าง โรงเรียน โรงพยาบาล หรือสร้างวัดได้ มันเป็นความสมัครใจของเขา เราบังคับไม่ได้ ในทำนองเดียวกัน ถ้าเราผลักดันให้คนเลิกทำบุญ เลิกเข้าวัด งบหย่อนใจของเขาตรงนี้ ก็อาจจะกลายเป็นโรงเรียน โรงพยาบาลก็ได้ หรืองบตรงนี้ของเขาอาจกลายเป็นโรงเหล้า โรงบุหรี่ หรืออะไรก็ได้ทั้งนั้น เพราะเราบังคับเขาไม่ได้ เป็นเรื่องความสมัครใจของแต่ละคน

ดังนั้น ถ้าเราคิดว่าขณะนี้ผู้คนในสังคมมีศีลธรรมมากเกินไป เข้าวัดมากเกินไป ก็ควรจะช่วยกันรณรงค์ให้คนเลิกเข้าวัด แต่ถ้าคิดว่าผู้คนในสังคม ยังมีศีลธรรมน้อยเกินไป ก็ควรจะช่วยกันรณรงค์ให้เข้าวัด ทำความดีให้มากขึ้น พิจารณาดูสิว่าสภาพปัจจุบันเป็นอย่างไร
บ้านเมืองใด หากมีโรงเหล้า โรงบุหรี่ สถานเริงรมย์ มากมายใหญ่โต แต่มีศาสนสถานเล็กๆ ไม่มีคนสนใจ บ้านเมืองนั้นก็น่าเป็นห่วง แต่บ้านเมืองใดหากมีวัดใหญ่ๆ ศาสนสถานใหญ่ๆ ผู้คนเข้าวัดเข้าวากันมากมาย ก็เป็นสัญลักษณ์ที่แสดงให้เห็น ถึงความเจริญของศีลธรรมของผู้คนในสังคมนั้นๆ ศาสนสถานที่สร้างขึ้น หากสร้างขึ้นเพื่อใช้งานจริง มีประชาชนมาอาศัยใช้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมกันอย่างเนืองแน่น จึงเป็นที่ควรสนับสนุนมิใช่หรือ

ถาม:ทำไม วัดพระธรรมกายจึงมักมีการบอกอานิสงส์ของการทำบุญ แบบเอาสวรรค์มาล่อ

ตอบ:การทำให้เกิดฉันทะ ความรัก ความสนใจ พอใจที่จะทำสิ่งใด ท่านบอกว่าจะต้องให้เห็นประโยชน์ว่าทำแล้ว ได้อะไร การเห็นประโยชน์ทำให้เกิดฉันทะ ฉันทะทำให้เกิดวิริยะ วิริยะทำให้เกิดจิตตะ จิตตะทำให้เกิดวิมังสา รวมเป็น อิทธิบาทสี่ ธรรมอันยังความสำเร็จให้เกิดขึ้น

แนวทางการแสดงธรรมแก่คฤหัสถ์ผู้ครองเรือน ที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงใช้อยู่เสมอ คือ หลักอนุปุพพิกถา ซึ่งเป็นการแสดงธรรมไปตามลำดับหัวข้อ มีเนื้อหาลุ่มลึกไปตามลำดับ เพื่อขัดเกลาอัธยาศัยผู้ฟังให้ประณีตขึ้นไปเป็นขั้นๆ คือ
1.ทานกถา ทรงแนะนำสั่งสอนให้ทุกคนให้ทาน มีความเอื้อเฟื้อต่อกัน เสียสละแบ่งปันกัน
2.ศีลกถา ทรงแนะนำสั่งสอนให้ทุกคนรักษาศีล มีความประพฤติที่ถูกต้องดีงาม
3.สัคคกถา ทรงพรรณนาซึ่งสวรรค์ ทรงชี้ให้เห็นว่า ผู้ที่ตั้งใจให้ทาน รักษาศีล ดังที่กล่าวแล้วใน 2ข้อข้างต้น จะได้รับอานิสงส์ คือ การเข้าถึงโลกสวรรค์ ซึ่งมีความสุข ความเจริญ อย่างไร
4.กามาทีนพ หากบุคคลผู้ฟังธรรมมีอัธยาศัยที่จะออกบวชได้ พระองค์ก็จะทรงแสดงถึงโทษของกามว่า มีทุกข์มาก มีโทษมาก มีสุขน้อย อย่างไร
5.เนกขัมมานิสงส์ เมื่อทรงแสดงถึงโทษของกามหมดแล้ว ก็จะทรงแสดงถึงอานิสงส์ของการออกบวช เสร็จแล้วผู้ฟังธรรมนั้นก็มักทูลขอบวช และได้บรรลุธรรมไปตามลำดับ
หลักอนุปุพพิกถานี้ เป็นแนวทางสำคัญในการสั่งสอนประชาชนมาตั้งแต่ครั้งพุทธกาล วัดพระธรรมกายได้ใช้แนวทางนี้ในการอบรมสั่งสอนประชาชน ตามหลักการที่พระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงวางไว้แล้วนั่นเอง

ถาม:การทำบุญแล้วมีการมอบพระบูชา เช่น พระมหาสิริราชธาตุ เป็นการทำให้คนติดในวัตถุมงคลหรือไม่

ตอบ:ผู้คนในโลกมีจริตอัธยาศัยต่างๆกัน บางคนก็พุทธิจริต เอาปัญญานำหน้าไม่สนใจเรื่องอื่นๆ จะเอาเนื้อหาธรรมะคำสอนเป็นหลัก พระพุทธรูปต่างๆก็ไม่สนใจ ไม่มีความจำเป็น แต่คนประเภทนี้มีน้อย คนส่วนใหญ่ยังต้องการสิ่งยึดเหนี่ยวจิตใจ ต้องการกำลังใจในการทำความดี แล้วค่อยๆยกระดับใจสูงขึ้นเป็นชั้นๆ เมื่อใดเข้าถึงธรรมหมดกิเลส วัตถุเครื่องยึดเหนี่ยวใจภายนอกก็หมดความจำเป็น ปู่ย่าตายายของเรา ท่านเข้าใจธรรมชาติของคนตรงนี้ดี จึงมีการสร้างพระเครื่อง มอบให้ชาวพุทธได้ติดตัวไว้บูชา เป็นเครื่องระลึกนึกถึงพระรัตนตรัย เตือนสติไม่ให้ทำชั่ว แต่ให้มีกำลังใจในการทำความดี

พระเครื่องที่สร้างโดยพระภิกษุสงฆ์ผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ ก็ได้รับความเชื่อถือกันว่า มีอานุภาพศักดิ์สิทธิ์ คุ้มครองผู้ที่ตั้งใจบูชา ก็ยิ่งเป็นกำลังใจในการสร้างความดีของผู้ที่มีไว้ครอบครอง

หากผู้ใดได้พระเครื่องไปบูชาแล้ว เชื่อในอำนาจศักดิ์สิทธิ์ เช่น หนังเหนียวแล้วไปอวดเบ่งเป็นนักเลง ตีรันฟันแทง ผู้นั้นทำผิด แต่ผู้ใดได้พระเครื่องไปบูชาแล้ว เชื่อมั่นในอำนาจพุทธคุณ พระเครื่องนั้นเป็นประดุจสัญลักษณ์ตัวแทนของพระรัตนตรัย ที่อยู่ประจำตน ทำให้รู้สึกอบอุ่นใจ มีกำลังใจ ในการทำความดียิ่งๆขึ้นไป การบูชาพระพุทธรูปอย่างนั้น จึงเป็นการกระทำที่เป็นประโยชน์ เปรียบเหมือนคนลงน้ำใหม่ๆยังว่ายน้ำไม่เป็น ก็ต้องใช้ขอนไม้เกาะไว้ก่อน เพื่อพยุงตัวไม่ให้จม ต่อเมื่อว่ายน้ำแข็งแล้ว ก็ไม่ต้องอาศัยวัตถุอื่นมาพยุงตัวต่อไป สามารถว่ายน้ำตัดตรงขึ้นฝั่งได้เลย

ถาม:พูดกันมาก โดยเฉพาะในหนังสือพิมพ์ว่า การบอกบุญทำบุญของวัดพระธรรมกายเป็นแบบ Direct Sales หรือขายตรง ความจริงเป็นอย่างไร

ตอบ:ผู้ที่เชี่ยวชาญในด้านการตลาดอย่าง คุณมานิต รัตนสุวรรณ อดีตนายกสมาคมนักการตลาดแห่งประเทศไทย ได้เคยให้ความรู้ หรือแม้ออกรายการโทรทัศน์ วิทยุ ได้พูดเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้แล้วง่ายๆสั้นๆ โดยหลักของการขายตรงมีอยู่ว่า ต้องมีค่าตอบแทนเป็นรายได้ แล้วมักจะเป็นรายได้อย่างงาม เท่านั้นเปอร์เซ็นต์ เท่านี้เปอร์เซ็นต์ ที่เรียกกันว่า Commission หลักพื้นฐานอย่างนี้ ผู้ที่เรียนวิชาบริหารธุรกิจมาบ้าง ก็น่าจะพอทราบเหมือนกัน

ดังนั้น ก็มาเปรียบเทียบกับการบอกบุญของวัดพระธรรมกาย ได้ชัดเจนเลยว่าต่างกัน ใครก็ได้ที่เห็นคุณค่างานพระพุทธศาสนา อยากสนับสนุนกิจกรรมอบรมศีลธรรม สร้างคนดีในสังคม ก็สามารถที่จะบอกต่อ เชิญชวน คนโน้นคนนี้มาร่วมบุญ ทำบุญในโอกาสต่างๆได้ จะทำบุญภัตตาหารก็ได้ บุญซื้อที่ บุญสร้างองค์พระ บุญสร้างศาลา ฯลฯ ก็ได้ทั้งนั้น

ก็เหมือนๆวัดทั่วไป คือ ทำหน้าที่ชักชวนกันมาทำความดี หรือชวนคนมาทำบุญ จะชวนคนมาทำบุญร้อยบาท ล้านบาท ก็ไม่มีส่วนแบ่ง ไม่มีเปอร์เซ็นต์ ทุกคนทำด้วยความศรัทธา ทั้งยังต้องเสียสละ เช่น เสียค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปพบ เสียค่าโทรศัพท์พูดคุย หรือต้องเสียเวลาพามาวัด มาดูสถานที่ มาดูกิจกรรมเสียก่อนด้วยซ้ำ ฉะนั้น ไม่ใช่การขายตรงอย่างแน่นอน
ในกรณีการสร้างพระธรรมกายประจำตัว ทางวัดพระธรรมกายได้จัดสร้างพระพุทธรูปองค์เล็กๆขึ้น เพียงเพื่อมอบให้เป็นของขวัญกำลังใจ ในการทำความดี แก่ผู้นำบุญผู้เสียสละ ชักชวนบุคคลอื่นมาทำความดีเท่านั้น ไม่มีผลตอบแทนในรูปตัวเงินใดๆทั้งสิ้น

ถาม:ทำบุญควรหวังผลหรือไม่

ตอบ:การทำความดี ไม่ว่าจะเป็นการให้ทาน รักษาศีล หรือเจริญภาวนา ทำแล้วก็เกิดบุญ ผู้ที่ทำความดีแล้วก็หวังจะได้บุญ เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ทำโดยรู้วัตถุประสงค์ รู้เป้าหมาย จากนั้นก็พยายามสร้างบุญที่ประณีตขึ้นตามลำดับ ตั้งแต่บุญจากการให้ทาน ต่อมาเป็นบุญจากการรักษาศีล และบุญจากการเจริญสมาธิภาวนา จากบุญระดับโลกียะ เป็นบุญระดับโลกุตตระ จนกระทั่งหมดกิเลสเป็นพระอรหันต์ นี้เป็นสิ่งที่ถูกต้อง ทำบุญแล้วหวังบุญก็เหมือนนักเรียนเรียนหนังสือแล้วหวังจะได้ความรู้ ซึ่งยอมได้ผลแห่งการศึกษาดีกว่าผู้ที่เรียนโดยไม่หวังความรู้ถาม:ทำบุญมาก ได้บุญมาก จริงหรือ

ตอบ:การทำทานให้ได้บุญมาก พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า มีองค์ประกอบ 3ประการ คือ
1.วัตถุบริสุทธิ์ คือ สิ่งที่ให้ทานได้มาด้วยความสุจริตถูกต้อง
2.เจตนาบริสุทธิ์ คือ มีความเลื่อมใสศรัทธา ให้เพื่อหวังบุญจริงๆ ไม่ได้หวังผลตอบแทน หรือไม่มีเจตนาแอบแฝงหวังประโยชน์ และเมื่อให้แล้วก็ไม่นึกเสียดายภายหลัง
3.บุคคลบริสุทธิ์ คือ ผู้รับเป็นผู้มีศีลบริสุทธิ์ มีคุณธรรม ยิ่งมีคุณธรรมมากเท่าใด บุญก็ยิ่งได้มากไปตามส่วน เช่น ทำบุญกับพระพุทธเจ้า ก็ได้บุญมากกว่าทำบุญกับบุคคลทั่วไป และยิ่งผู้ให้มีศีลบริสุทธิ์ด้วยแล้ว บุญก็ยิ่งมากขึ้นไปอีก

ถ้าเงื่อนไขดังกล่าว คือ วัตถุ เจตนา และบุคคลผู้ให้-ผู้รับ มีความบริสุทธิ์เท่ากันแล้ว แน่นอนว่าผู้ที่ให้ทานเป็นจำนวนมากกว่าก็ย่อมได้รับผลมากกว่า เหมือนคนทำนา 100ไร่ ย่อมได้ผลมากกว่าคนทำนา 1ไร่

แต่หากผู้ที่ให้ทานด้วยทรัพย์แม้เป็นจำนวนน้อยกว่า แต่มีความตั้งใจ มีความเลื่อมใสศรัทธาเต็มเปี่ยม และได้ให้ทานกับคนที่มีคุณธรรมสูง ก็อาจได้บุญมากยิ่งกว่าผู้ทำด้วยทรัพย์มากยิ่งกว่าเป็นร้อยๆเท่าก็ได้ ดังตัวอย่างของมหาทุคตะในครั้งพุทธกาล ถวายข้าวเพียงมื้อเดียวแก่พระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่ทำด้วยความเลื่อมใส ศรัทธาเต็มที่ ก็ได้อานิสงส์ผลบุญทันตาเห็น กลายเป็นมหาเศรษฐีประจำเมือง

ถาม:คำว่า ธรรมกาย มีในพระไตรปิฎกหรือไม่

ตอบ:คำว่า ธรรมกาย มีหลักฐานปรากฏในพระไตรปิฎกอยู่ 4แห่ง และในคัมภีร์อรรถกถา และฎีกาอีกหลายสิบแห่ง ดังรายละเอียดในหัวข้อเรื่องหลักฐานวิชชาธรรมกาย นอกจากนี้ยังมีคัมภีร์พระไตรปิฎกจีนในส่วนที่เป็นเนื้อหาของหินยาน มีการกล่าวถึงคำว่า ธรรมกาย ในหลายๆแห่งระบุถึงความหมายของคำว่า พระธรรมกาย และแนวทางการเข้าถึงไว้อย่างน่าสนใจ แต่เนื้อหาในพระไตรปิฎก ฉบับบาลี ตกหล่นไป

คำว่า ธรรมกาย นี้จึงมีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลอย่างแน่นอน โดยไม่มีข้อสงสัย และโต้แย้งใดๆ ที่เป็นประเด็นถกเถียงกันก็คือ ความหมายของคำว่า ธรรมกาย บ้างก็กล่าวว่า หมายถึงโลกุตรธรรมเก้า บ้างก็กล่าวว่าหมายถึงพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้า บ้างก็กล่าวว่าหมายถึงกายแห่งการตรัสรู้ธรรมของพระพุทธเจ้า สิ่งที่สามารถสรุปได้อย่างมั่นใจอย่างหนึ่งก็คือ เราไม่สามารถอาศัยหลักฐานทางคัมภีร์ เท่าที่มีเหลืออยู่ในปัจจุบัน มาเป็นเครื่องยืนยันว่า ความคิดเห็นที่แตกต่างกันนั้น ความคิดอันใดอันหนึ่งถูกต้องอย่างปราศจากข้อโต้แย้งใดๆ

ดังนั้น สิ่งที่ชาวพุทธควรจะกระทำก็คือ ตั้งใจปฏิบัติตามหลัก ศีล สมาธิ ปัญญา ปฏิบัติตามหลักมรรคมีองค์แปด และตั้งใจทำความดี ด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญสมาธิภาวนา ลด ละ เลิก อบายมุข สมัครสมานสามัคคีกัน การถกเถียงกันด้วยเรื่องที่ไม่อาจได้ข้อสรุป ด้วยคำพูด และตัวหนังสือ เป็นสิ่งที่ไม่ให้ประโยชน์ กลับอาจนำมาซึ่งการทะเลาะเบาะแว้ง และการแตกแยก

พระสัมมาสัมพุทธเจ้าของเรา พระองค์จะไม่ทรงพยากรณ์ในเรื่องที่เกินวิสัยของปุถุชนคนธรรมดาจะเข้าใจได้ด้วยคำพูด เช่น ไม่ทรงตอบเรื่องโลกนี้โลกหน้าว่า มีจริงไหม โลกมีที่สิ้นสุดหรือไม่ เป็นต้น เพราะตอบไปแล้ว ถ้าเขาไม่เชื่อก็หาข้อสรุปไม่ได้ สิ่งที่พระองค์ทรงกระทำก็คือ แนะนำให้เขาปฏิบัติธรรม ทำความดีและเมื่อปฏิบัติไปถึงจุดแล้ว เขาก็จะรู้ได้ด้วยตัวเอง เพราะธรรมะเป็นสิ่งที่รู้ได้เฉพาะตน
ดังนั้น สิ่งที่ชาวไทยชาวพุทธ ผู้รู้ ผู้มีความปรารถนาดีต่อพระพุทธศาสนา และสังคมไทยทุกคน ควรทำภารกิจเร่งด่วนในปัจจุบัน คือ ทำอย่างไร จึงจะยกระดับศีลธรรมของคนในสังคมได้ ทำอย่างไร เราจึงจะดึงคนเข้าวัดปฏิบัติธรรม ให้ชาวพุทธทุกคนเป็นชาวพุทธที่แท้จริง ให้สังคมไทยเป็นสังคมที่สงบร่มเย็นเป็นสุข มีความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน ผู้คนมีน้ำใจเอื้อเฟื้อช่วยเหลือกัน อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข